วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แปลโดยพยัญชนะเรื่องวิฑูฑภะ (พร้อมบาลี)


 
 
. วิฏฏูภวตฺถุ

ปุปฺผานิเหว ปจินนฺตนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา สาวตฺถิยํ วิหรนฺโต สปริสํ มโหเฆน อชฺโฌตฺถริตฺวา มาริตํ วิฏฏูภํ อารพฺภ กเถสิ.

๓.  อ. เรื่องแห่งพระเจ้าวิฑูฑภะ  (อันข้าพเจ้า  จะกล่าว)ฯ

            อ. พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่  ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี  ทรงปรารภ  ซึ่งพระเจ้าวิฑูฑภะ  ผู้เป็นไปกับด้วยบริษัท  ผู้อันห้วงน้ำท่วมทับแล้วให้สวรรคแล้ว  ตรัสแล้ว  ซึ่งพระธรรมเทศนา นี้ว่า  ปุปฺผานิ  เหว  ปจินนฺตํ  ดังนี้เป็นต้น ฯ * ก. ๓ *

 
 
ตตฺรายํ อนุปุพฺพิกถา สาวตฺถิยญฺหิ มหาโกสลรญฺโญ ปุตฺโต ปเสนทิกุมาโร นาม. เวสาลิยํ ลิจฺฉวิรญฺโญ ปุตฺโต ลิจฺฉวิกุมาโร มหาลิ นาม กุสินารายํ มลฺลราชปุตฺโต พนฺธุโล นามาติ อิเม ตโย ทิสาปาโมกฺขสฺสาจริยสฺส สนฺติเก สิปฺปุคฺคหณตฺถํ ตกฺกสิลํ คนฺตฺวา พหินคเร สาลาย สมาคตา อญฺญมญฺญสฺส อาคตการณญฺจ กุลญฺจ นามญฺจ ปุจฺฉิตฺวา สหายกา หุตฺวา เอกโตว อาจริยํ อุปสงฺกมิตฺวา สิปฺปํ สิกฺขนฺตา จิรสฺเสว อุคฺคหิตสิปฺปา อาจริยํ อาปุจฺฉิตฺวา เอกโตว นิกฺขมิตฺวา สกสกฏฺฐานานิ อคมํสุ.
 
 อ.  วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ  ในเรื่องนั้น  นี้ (อ.  พระกุมาร ท.)  สาม เหล่านี้ คือ อ.พระโอรส  ของพระราชาพระนามว่ามหาโกศล  ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี  พรนามว่าปเสนทิกุมาร,  อ. พระกุมารของเจ้าลิจฉวี  ในเมืองชื่อว่าเวสาลี  พระนามว่ามหาลิ,  อ. พระโอรสของเจ้ามัลละในเมืองชื่อว่ากุสินารา  พระนามว่าพันธุละ  เสด็จไปแล้ว  สู่เมืองชื่อว่าตักกสิลา  เพื่ออันทรงเรียนเอาซึ่งศิลปะ  ในสำนัก  ของอาจารย์ผู้ทิศาปาโมกข์  เสด็จมาพร้อมกันแล้ว  ที่ศาลา  ในภายนอกแห่งพระนคร  ตรัสถามแล้ว  ซึ่งเหตุแห่งพระองค์เสด็จมาแล้วด้วย  ซึ่งตระกูลด้วย  ซึ่งพระนามด้วย  ของกันและกัน  เป็นพระสหายกัน  เป็น  เสด็จเข้าไปหาแล้ว  ซึ่งอาจารย์  โดยความเป็นอันเดียวกันเทียว  ผู้มีศิลปะอันทรงเรียนเอาแล้ว  ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว  ทรงอำลาแล้ว  ซึ่งอาจารย์  เสด็จออกแล้ว  โดยความเป็นอันเดียวกันเทียว  ได้เสด็จไปแล้ว  สู่ที่อันเป็นของพระองค์และอันเป็นของพระองค์ ท. ฯ
 
เตสุ ปเสนทิกุมาโร ปิตุ สิปฺปํ ทสฺเสตฺวา ปสนฺเนน ปิตรา รชฺเช อภิสิตฺโต. มหาลิกุมาโร ลิจฺฉวีนํ สิปฺปํ ทสฺเสนฺโต มหนฺเตน อุสฺสาเหน ทสฺเสสิ ตสฺส อกฺขีนิ ภิชฺชิตฺวา อคมํสุ. ลิจฺฉวิราชาโน อโห วต อมฺหากํ อาจริโย อกฺขิวินาสํ ปตฺโต นํ ปริจฺจชิสฺสาม อุปฏฺฐหิสฺสาม นฺติ ตสฺส สตสหสฺสุฏฺฐานกํ เอกํ ทฺวารํ อทํสุ.
 
  (ในพระกุมาร ท. สาม)  เหล่านั้นหนา  อ. พระกุมารพระนามว่าปเสนทิ  ทรงแสดงแล้ว ซึ่งศิลปะแก่พระบิดา  อันพระบิดา  ผู้ทรงเลื่อมใสแล้ว  ทรงอภิเสกแล้ว  ในความเป็นแห่งพระราชา ฯ อ. พระกุมารพระนามว่ามหาลิ  เมื่อทรงแสดง  ซึ่งศิลปะ  แก่เจ้าลิจฉวี  ท. ทรงแสดงแล้ว  ด้วยความอุตสาหะ  อันใหญ่ ฯ อ. พระเนตร ท. ของพระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น  ได้แตกไปแล้ว ฯ อ. เจ้าลิจฉวี ท. (ทรงปรึกษากันแล้ว) ว่า  โอ! หนอ  อ. อาจารย์  ของเรา  ท. ทรงถึงแล้ว  ซึ่งความพินาศแห่งพระเนตร,  อ. เรา  ท.  จักไม่สละรอบ  ซึ่งอาจารย์นั้น  อ. เรา  ท.  จักบำรุง  ซึ่งอาจารย์นั้นดังนี้  ได้ถวายแล้ว  ซึ่งประตู  ประตูหนึ่ง  อันเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งแสนแห่งทรัพย์  แก่พระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น ฯ 
 
 
โส ตํ นิสฺสาย ปญฺจสเต ลิจฺฉวิราชปุตฺเต สิปฺปํ สิกฺขาเปนฺโต วสิ. พนฺธุลกุมาโร สฏฺฐึ สฏฺฐึ เวฬู คเหตฺวา มชฺเฌ อยสลากํ ปกฺขิปิตฺวา สฏฺฐิกลาเป อุสฺสาเปตฺวา ฐปิเต มลฺลราชกุเลหิ อิเม กปฺเปตูติ วุตฺโต อสีติหตฺถํ อากาสํ อุลฺลงฺฆิตฺวา อสินา กปฺเปนฺโต อคมาสิ.
 
 อ. พระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น  ทรงอาศัยแล้ว  ซึ่งประตูนั้น  ทรงยังโอรสของเจ้าลิจฉวี  ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ  ให้ศึกษาอยู่  ซึ่งศิลปะ  ประทับอยู่แล้ว ฯ  อ.  พระกุมารพระนามว่าพันธุละ,  (ครั้นเมื่อพระดำรัส) ว่า  (อ. เจ้าพันธุละ)  จงฟัน (ซึ่งมัดหกสิบ  ท.)  เหล่านี้  ดังนี้  อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ  ท.  ตรัสแล้ว,  ทรงกระโดดขึ้นแล้ว  สู่อากาศ  มีศอกแปดสิบเป็นประมาณทรงฟันอยู่  ซึ่งมัดหกสิบ ท. อัน (อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ท.)  ทรงถือเอาแล้ว  ซึ่งไม้ไผ่  ท.  หกสิบทรงใส่เข้าแล้ว  ซึ่งซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก  ในท่ามกลาง  ทรงให้ยกขึ้นแล้ว  ทรงตั้งไว้แล้ว  ด้วยดาบ  ได้เสด็จไปแล้ว ฯ
 
 
โส โอสานกลาเป อยสลากาย กิรีติ สทฺทํ สุตฺวา กึ เอตนฺติ ปุจฺฉิตฺวา สพฺพกลาเปสุ อยสลากานํ ฐปิตภาวํ ญตฺวา อสึ ฉฑฺเฑตฺวา โรทมาโน มยฺหํ เอตฺตเกสุ ญาติสุหชฺเชสุ เอโกปิ สสิเนโห หุตฺวา อิมํ การณํ นาจิกฺขิ. สเจ หิ อหํ ชาเนยฺยํ อยสลากาย สทฺทํ อนุฏฺฐาเปนฺโตว ฉินฺเทยฺยนฺติ วตฺวา สพฺเพปิเม มาเรตฺวา รชฺชํ กเรยฺยนฺติ มาตาปิตูนํ กเถสิ. เตหิ ปเวณิรชฺชํ นาม ตาต อิทํ ลพฺภา เอวํ กาตุนฺติ นานปฺปกาเรน วาริโต เตน หิ มม สหายกสฺส สนฺติกํ คมิสฺสามีติ สาวตฺถึ อคมาสิ.

  อ. พระกุมารพระนามว่าพันธุละนั้น  ทรงสดับแล้ว  ซึ่งเสียง  ว่า  กริ๊ก  ดังนี้ของซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก  ในมัดอันเป็นที่สุดลง  ตรัสถามแล้ว  ว่า  อ.  เสียงนั่น * อะไร ? ดังนี้  ทรงสดับแล้ว  ซึ่งความที่แห่งซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก  ท. เป็นซี่ (อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ  ท.) ทรงตั้งไว้แล้ว  ในมัดทั้งปวง ท. ทรงทิ้งแล้ว ซึ่งดาบ กันแสงอยู่  ตรัสแล้ว ว่า ในญาติและสหายผู้มีใจดี  ท.  มีประมาณเท่านี้  ของเราหนา (อ. บุคคล)  แม้คนหนึ่ง เป็นผู้เป็นไปกับด้วยความรักเป็น ไม่บอกแล้ว  ซึ่งเหตุนี้ (แก่เรา); ก็ ถ้าว่า อ. เรา พึงรู้ไซร้, อ. เรา พึงตัด ยังเสียง ของซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก ไม่ให้ตั้งขึ้นอยู่เทียว  ดังนี้  กราบทูลแล้ว แก่พระมารดาและพระบิดา  ท. ว่า  อ. หม่อมฉัน (ยังเจ้ามัลละ ท.) เหล่านี้  แม้ทั้งปวง ให้ทิวงคตแล้ว (ยังบุคคล) จักให้กระทำ  ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา  ดังนี้, ผู้ (อันพระมารดาและพระบิดา ท.) ทรงห้ามแล้ว โดยประการต่าง ๆ ว่า แน่ะพ่อ (อ. ความเป็นแห่งพระราชา) นี้ ชื่อว่าเป็นความเป็นแห่งพระราชาตามประเพณี (ย่อมเป็น), (อ. ความเป็นแห่งพระราชานี้) (อันเจ้า) ไม่พึงได้ เพื่ออันกระทำ อย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น  ทูลแล้ว ว่า ถ้าอย่างนั้น อ. หม่อมฉัน จักไป สู่สำนัก ของพระสหาย ของหม่อมฉัน ดังนี้ ได้เสด็จไปแล้ว สู่เมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ
 
ปเสนทิ โกสโล ราชา ตสฺสาคมนํ สุตฺวา ปจฺจุคฺคนฺตฺวา มหนฺเตน สกฺกาเรน ตํ นครํ ปเวเสตฺวา เสนาปติฏฺฐาเน ฐเปสิ. โส มาตาปิตโร ปกฺโกสาเปตฺวา ตตฺเถว วาสํ กปฺเปสิ.
 
อ. พระราชาพระนามว่าปเสนทิ ทรงสดับแล้ว ซึ่งการเสด็จมา แห่งเจ้าพันธุละนั้น  ทรงต้อนรับแล้ว (ทรงยังเจ้าพันธุละ) ให้เสด็จเข้าไปแล้ว สู่พระนคร ด้วยสักการะอันใหญ่ ทรงตั้งไว้แล้ว ในตำแหน่งแห่งเสนาบดี ฯ  อ. เจ้าพันธุละนั้น (ทรงยังบุคคล) ให้ร้องเรียกแล้ว  ซึ่งพระมารดาและพระบิดา ท.  ทรงสำเร็จแล้ว ซึ่งการประทับอยู่  ในเมืองชื่อว่าสาวัตถีนั้นนั่นเทียว ฯ
 
 
อเถกทิวสํ ราชา อุปริปาสาเท ฐิโต อนฺตรวีถึ โอโลกยมาโน อนาถปิณฺฑิกสฺส จูฬอนาถปิณฺฑิกสฺส วิสาขาย สุปฺปวาสายาติ เอเตสํ เคเห นิจฺจํ ภตฺตกิจฺจตฺถาย คจฺฉนฺเต อเนกสหสฺเส ภิกฺขู ทิสฺวา กหํ อยฺยา คจฺฉนฺตีติ ปุจฺฉิตฺวา เทว อนาถปิณฺฑิกสฺส เคเห นิจฺจภตฺตสลากภตฺตคิลานภตฺตาทีนํ อตฺถาย เทวสิกํ ทฺเว ภิกฺขุสหสฺสานิ คจฺฉนฺติ จูฬอนาถปิณฺฑิกสฺส เคเห ปญฺจสตานิ ตถา วิสาขาย ตถา สุปฺปวาสายาติ วุตฺเต สยมฺปิ ภิกฺขุสงฺฆํ อุปฏฺฐหิตุกาโม วิหารํ คนฺตฺวา ภิกฺขุสหสฺเสน สทฺธึ สตฺถารํ นิมนฺเตตฺวา สตฺตาหํ สหตฺถา ทานํ ทตฺวา สตฺตเม ทิวเส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา ภนฺเต ปญฺจหิ เม ภิกฺขุสเตหิ สทฺธึ นิพทฺธํ ภิกฺขํ คณฺหถาติ อาห.
 
ครั้งนั้น  ในวันหนึ่ง อ. พระราชา ประทับยืนแล้ว ในเบื้องบนแห่งปราสาท  ทรงแลดูอยู่ซึ่งระหว่างแห่งถนน  ทรงเป็นแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. มีพันมิใช่หนึ่ง ผู้ไปอยู่ เพื่อประโยชน์แก่กิจด้วยภัตรในเรือน ของ ชน ท. เหล่านั้น คือ ของเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบิณฑิกะ ของนางวิสาขา ของนางสุปปวาสา  ตรัสถามแล้ว ว่า อ. พระผู้เป็นเจ้า ท. ย่อมไปในที่ไหน ? ดังนี้, (ครั้นเมื่อคำ) ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. พันแห่งภิกษุ ท. สอง ย่อมไปทุก ๆ วัน  เพื่อประโยชน์ (แก่ภัตร ท.) มีนิตยภัตรและสลากภัตรและคิลานภัตร เป็นต้น ในเรือนของเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ, อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือน ของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบินฑิกะ เนืองนิตย์, อ. อย่างนั้น คือว่า (อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณย่อมไป สู่เรือน) ของนางวิสาขา (เนืองนิตย์), อ. อย่างนั้น คือว่า (อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือน) ของนางสุปปวาสา (เนืองนิตย์) ดังนี้ (อันราชบุรุษ ท.) กราบทูลแล้ว, เป็นผู้ทรงใคร่เพื่ออันบำรุง  ซึ่งหมู่แห่งภิกษุ  แม้เอง  (เป็น)  เสด็จไปแล้ว  สู่วิหาร  ทรงนิมนต์แล้ว  ซึ่งพระศาสดา  กับ  ด้วยพันแห่งภิกษุ  ทรงถวายแล้ว  ซึ่งทาน  ด้วยพระหัตถ์อันเป็นของพระองค์  ตลอดวันเจ็ด  ถวายบังคมแล้ว  ซึ่งพระศาสดา  กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (อ. พระองค์ ท.) ขอจงทรงรับ ซึ่งภิกษา  ของหม่อมฉัน กับ ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ท. ห้า เนืองนิตย์ ดังนี้ ในวัน ที่เจ็ด ฯ
 
 
มหาราช พุทฺธา นาม เอกฏฺฐาเน นิพทฺธํ ภิกฺขํ คณฺหนฺติ พหู ชนา พุทฺธานํ อาคมนํ ปจฺจาสีสนฺตีติ. เตน หิ เอกํ ภิกฺขุํ นิพทฺธํ เปเสถาติ อาห. สตฺถา อานนฺทตฺเถรสฺส ภารํ อกาสิ. ราชา ภิกฺขุสงฺเฆ อาคเต ปตฺตํ คเหตฺวา อิเม นาม ปริวิสนฺตูติ อวิจาเรตฺวาว สตฺตาหํ สยเมว ปริวิสิตฺวา อฏฺฐเม ทิวเส วิกฺขิตฺตจิตฺโต ปมชฺชมกาสิ.
 
(อ. พระศาสดา ตรัสแล้ว) ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ชื่อ อ. พระพุทธเจ้า ท. ย่อมไม่ทรงรับ ซึ่งภิกษาในที่แห่งเดียวกัน  เนืองนิตย์, (อ. ชน ท.) มาก ย่อมหวังเฉพาะ  ซึ่งการเสด็จมา  แห่งพระพุทธเจ้า ท.  ดังนี้ ฯ (อ. พระราชา กราบทูลแล้ว)  ว่า  ถ้าอย่างนั้น  อ. พระองค์  ท. ขอจงทรงส่งไป ซึ่งภิกษุรูปหนึ่ง เนืองนิตย์ ดังนี้ ฯ อ. พระศาสดา  ได้ทรงกระทำแล้ว ให้เป็นภาระ ของพระเถระชื่อว่าอานนท์ ฯ อ. พระราชา ไม่ทรงจัดการแล้ว ว่า ครั้นเมื่อหมู่แห่งภิกษุ มาแล้ว, (อ. ชน ท.) ชื่อเหล่านี้รับแล้ว ซึ่งบาตร จงอังคาส ดังนี้ ทรงอังคาสแล้ว เองนั่นเทียว ตลอดวันเจ็ด ทรงลืมแล้ว ได้ทรงกระทำแล้ว ซึ่งความเนิ่นช้า ในวัน ที่แปด ฯ
 
ราชกุเล นาม อนาณตฺตา อาสนานิ ปญฺญาเปตฺวา ภิกฺขู นิสีทาเปตฺวา ปริวิสิตุํ ลภนฺติ มยํ อิธ ฐาตุํ สกฺขิสฺสามาติ พหู ภิกฺขู ปกฺกมึสุ. ราชา ทุติยทิวเสปิ ปมชฺชิ ทุติยทิวเสปิ พหู ภิกฺขู ปกฺกมึสุ. ตติยทิวเสปิ ปมชฺชิ ตทา อานนฺทตฺเถรํ เอกกเมว ฐเปตฺวา อวเสสา ปกฺกมึสุ.
 
 
ก็ (อ. ชน ท.) ผู้ (อันพระราชา) ไม่ทรงบังคับแล้วชื่อในราชตระกูล ย่อมไม่ได้ เพื่ออันปูลาดซึ่งอาสนะ ท. แล้วยังภิกษุ ท. ให้นั่งแล้วอังคาส ฯ อ. ภิกษุ ท. (กล่าวแล้ว) ว่า อ. เรา ท. จักไม่อาจ เพื่ออันดำรงอยู่ ในที่นี้ ดังนี้ ผู้มาก หลีกไปแล้วฯ อ. พระราชา ทรงลืมแล้ว แม้ในวันที่สอง ฯ อ. ภิกษุ ท. มาก หลีกไปแล้ว แม้ในวันที่สอง ฯ (อ. พระราชา) ทรงลืมแล้ว แม้ในวันที่สาม ฯ ในกาลนั้น (อ. ภิกษุ ท.) ผู้เหลือลง เว้น ซึ่งพระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้ผู้เดียวนั่นเทียว หลีกไปแล้ว ฯ
 
 
ปุญฺญวนฺตา นาม การณวสิกา โหนฺติ กุลานํ ปสาทํ รกฺขนฺติ. ตถาคตสฺส สาริปุตฺตตฺเถโร มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโรติ ทฺเว อคฺคสาวกา เขมา อุปฺปลวณฺณาติ ทฺเว อคฺคสาวิกา อุปาสเกสุ จิตฺโต คหปติ หตฺถโก อาฬวโกติ ทฺเว อคฺคอุปาสกา อุปาสิกาสุ เวฬุกณฺฐกี นนฺทมาตา ขุชฺชุตฺตราติ ทฺเว อคฺคอุปาสิกา อิติ อิเม อฏฺฐ ชเน อาทึ กตฺวา ฐานนฺตรปตฺตา สพฺเพปิ สาวกา เอกเทเสน ทสนฺนํ ปารมีนํ ปูริตตฺตา มหาปุญฺญา อภินีหารสมฺปนฺนา.
 
ชื่อ (อ. ชน ท.) ผู้มีบุญ เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ ย่อมเป็น ย่อมรักษา ซึ่งความเลื่อมใส แห่งตระกูล ท. ฯ ก็ อ. สาวก ท. ของพระตถาคตเจ้า แม้ทั้งปวง ผู้ถึงแล้วซึ่งฐานันดรกระทำ ซึ่งชน ท. แปด เหล่านี้ คือ อ. อัครสาวก ท. สอง คือ อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตร อ. พระเถระชื่อว่ามหาโมคคัลลานะ, อ. อัครสาวิกา ท. สอง คือ อ. นางเขมา อ. นางอุบลวรรณา, ในอุบาสก ท. หนา (อ. อุบาสก ท.) สอง ผู้เป็นอัครสาวก คือ อ. คฤหบดี ชื่อว่าจิตตะ อ. อุบาสกชื่อว่าหัตถกะผู้อยู่ในเมืองอาฬวี, ในอุบาสิกา ท. หนา (อ. อุบาสิกา ท.) สอง ผู้เป็นอัครสาวิกา คือ อ. มารดาของนันทมาณพ ชื่อว่าเวฬุกัณฏกี อ. นางขุชชุตรา; ให้เป็นต้น เป็นผู้มีบุญมาก เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินิหาร (ย่อมเป็น) เพราะความที่ แห่งบารมี ท. สิบ เป็นบารมีอันตนให้เต็มแล้วโดยเอกเทศ ฯ
 
อานนฺทตฺเถโรปิ กปฺปสตสหสฺสํ ปูริตปารมี อภินีหารสมฺปนฺโน มหาปุญฺโญ อตฺตโน การณวสิกตาย กุลสฺส ปสาทํ รกฺขนฺโต อฏฺฐาสิ. ตํ เอกกเมว นิสีทาเปตฺวา ปริวิสึสุ.

    
แม้ อ. พระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้มีบารมีอันให้เต็มแล้วตลอดแสนแห่งกัปป์  ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินิหาร  ผู้มีบุญมาก  เมื่อรักษา  ซึ่งความเลื่อมใส  แห่งตระกูล  ได้ตั้งอยู่แล้ว  เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ ฯ (อ. ราชบุรุษ ท.) ยังพระเถระนั้น  ผู้ผู้เดียวนั่นเทียวให้นั่งแล้ว  อังคาสแล้ว ฯ
 
 
ราชา () ภิกฺขูนํ คตกาเล อาคนฺตฺวา ขาทนียโภชนียานิ ตเถว ฐิตานิ ทิสฺวา กึ อยฺยา นาคมึสูติ ปุจฺฉิตฺวา อานนฺทตฺเถโร เอกโกว อาคโต เทวาติ สุตฺวา อทฺธา เอตฺตกํ เม ภตฺตจฺเฉทนมกํสูติ ภิกฺขูนํ กุทฺโธ สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ภนฺเต มยา ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ ภิกฺขา ปฏิยตฺตา อานนฺทตฺเถโร กิร เอกโกวาคโต ปฏิยตฺตา ภิกฺขา ตเถว ฐิตา ปญฺจสตา ภิกฺขู มม เคเห สญฺญํ กรึสุ กึ นุ โข การณนฺติ อาห.
 
  อ. พระราชา เสด็จมาแล้ว  ในกาลแห่งภิกษุ ท. ไปแล้ว  ทอดพระเนตรแล้วซึ่งของอันบุคคลพึงเคี้ยวและของอันบุคคลพึงบริโภค  ท. อันตั้งอยู่แล้ว  อย่างนั้นนั่นเทียว  ตรัสถามแล้ว ว่า อ. พระผู้เป็นเจ้า ท. ไม่มาแล้ว หรือ ? ดังนี้  ทรงสดับแล้ว  ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. พระเถระชื่อว่าอานนท์  ผู้ผู้เดียวเทียว มาแล้ว ดังนี้ กริ้วแล้ว ต่อภิกษุ ท. ว่า (อ. พระผู้เป็นเจ้า ท.) ได้กระทำแล้ว  ซึ่งการตัดขาด  ต่อเรา มีประมาณเท่านี้ แน่แท้ ดังนี้ เสด็จไปแล้ว สู่สำนัก ของพระศาสดา  กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. ภิกษา อันหม่อมฉัน ตระเตรียมแล้ว  เพื่อร้อยแห่งภิกษุ ท. ห้า,  ได้ยินว่า อ.  พระเถระชื่อว่าอานนท์  ผู้ผู้เดียวเทียว มาแล้ว, อ.ภิกษาอัน หม่อมฉันตระเตรียมแล้ว  ตั้งอยู่แล้ว  อย่างนั้นนั่นเทียว,  อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ไม่กระทำแล้ว ซึ่งความสำคัญ ในเรือน ของหม่อมฉัน ; อ. เหตุ  อะไรหนอแล ดังนี้ ฯ
 
สตฺถา ภิกฺขูนํ โทสํ อวตฺวา มหาราช มม สาวกานํ ตุมฺเหหิ สทฺธึ วิสฺสาโส นตฺถิ เตน คตา ภวิสฺสนฺตีติ วตฺวา กุลานํ อนุปคมนการณญฺจ อุปคมนการณญฺจ ปกาเสนฺโต ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา อิมํ สุตฺตมาห

  อ. พระศาสดาไม่ตรัสแล้ว ซึ่งโทษ ของภิกษุ ท. ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ. ความคุ้นเคย กับ ด้วยพระองค์ ท. แห่งสาวก ท. ของอาตมภาพ  ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น (อ. สาวก ท. ของอาตมภาพ) เป็นผู้ไม่ไปแล้ว จักเป็น ดังนี้ เมื่อทรงประกาศ ซึ่งเหตุแห่งการไม่เข้าไป สู่ตระกูล ท. ด้วย ซึ่งเหตุแห่งการเข้าไป (สู่ตระกูล ท.) ด้วย ตรัสเรียกมาแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ตรัสแล้ว ซึ่งพระสูตร นี้ ว่า
 
นวหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา วา นาลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา วา นาลํ อุปนิสีทิตุํ. กตเมหิ นวหิ? มนาเปน ปจฺจุฏฺเฐนฺติ มนาเปน อภิวาเทนฺติ มนาเปน อาสนํ เทนฺติ สนฺตมสฺส ปริคุหนฺติ พหุกมฺปิ โถกํ เทนฺติ ปณีตมฺปิ ลูขํ เทนฺติ อสกฺกจฺจํ เทนฺติ โน สกฺกจฺจํ อุปนิสีทนฺติ ธมฺมสฺสวนาย ภาสิตมสฺส สุสฺสูสนฺติ อิเมหิ โข ภิกฺขเว นวหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา วา นาลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา วา นาลํ อุปนิสีทิตุํ.

ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้วไม่ควร เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ฯ (อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท.) เก้า เหล่าไหน ? (อันภิกษุ ไม่เข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันเข้าไปด้วยครั้นเข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย (อ. ชน ท.) ย่อมไม่ต้อนรับ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมไม่กราบไหว้ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมไม่ถวาย ซึ่งอาสนะ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมซ่อน ซึ่งของอันมีอยู่ ต่อภิกษุนั้น, ครั้นเมื่อของมาก (มีอยู่) ย่อมถวาย  โดยไม่เคารพ ย่อมไม่ถวาย โดยเคารพ,  ย่อมไม่นั่งใกล้ เพื่ออันฟังซึ่งธรรม, (เมื่อภิกษุ) กล่าวอยู่ (ซึ่งธรรม)  ย่อมไม่ยินดี ฯ  ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้าเหล่านี้ แล (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ฯ
 
นวหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา วา อลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา วา อลํ อุปนิสีทิตุํ. กตเมหิ นวหิ? มนาเปน ปจฺจุฏฺเฐนฺติ มนาเปน อภิวาเทนฺติ มนาเปน อาสนํ เทนฺติ สนฺตมสฺส ปริคุหนฺติ พหุกมฺปิ พหุกํ เทนฺติ ปณีตมฺปิ ปณีตํ เทนฺติ สกฺกจฺจํ เทนฺติ โน อสกฺกจฺจํ อุปนิสีทนฺติ ธมฺมสฺสวนาย ภาสิตมสฺส สุสฺสูสนฺติ. อิเมหิ โข ภิกฺขเว นวหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา วา อลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา วา อลํ อุปนิสีทิตุนฺติ (. นิ. ๙๑๗).

 
            ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้วควร  เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ฯ (อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ท.) เก้า เหล่าไหน ? (อันภิกษุ ไม่เข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้วควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย)  (อ. ชน ท.) ย่อมต้อนรับ  ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมกราบไหว้ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมถวาย  ซึ่งอาสนะ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมไม่ซ่อนซึ่งของอันมีอยู่  ต่อภิกษุนั้น,  ครั้นเมื่อของมาก (มีอยู่)  ย่อมถวาย  ซึ่งของมาก,  ครั้นเมื่อของประณีต  (มีอยู่)  ย่อมถวาย  ซึ่งของประณีต,  ย่อมถวาย  โดยเคารพ  ย่อมไม่ถวาย  โดยไม่เคารพ, ย่อมนั่งใกล้เพื่ออันฟังซึ่งธรรม, (เมื่อภิกษุ) กล่าวอยู่ (ซึ่งธรรม) ย่อมยินดี ฯ ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูลอันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า เหล่านี้ แล (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันเข้าไปด้วยครั้นเข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ดังนี้ ฯ

อิติ โข มหาราช มม สาวกา ตุมฺหากํ สนฺติกา วิสฺสาสํ อลภนฺตา คตา ภวิสฺสนฺตีติ. โปราณกปณฺฑิตาปิ หิ อวิสฺสาสิกฏฺฐาเน สกฺกจฺจํ อุปฏฺฐิยมานาปิ มารณนฺติกํ เวทนํ ปตฺวา วิสฺสาสิกฏฺฐานเมว อคมึสูติ. กทา ภนฺเตติ รญฺญา ปุฏฺโฐ อตีตํ อาหริ


 

1 ความคิดเห็น: