วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ






๙. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๔๑]
 [ข้อความเบื้องต้น]
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี เมื่อจะทรงแก้ปัญหาของพระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น ปุปฺผคนฺโธปฏิวาตเมติ เป็นต้น.
[พระอานนทเถระทูลถามปัญหา]
 ดังได้สดับมา พระเถระหลีกเร้นแล้วในเวลาเย็น คิดว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสกลิ่นสูงสุดไว้ ๓ อย่าง คือ กลิ่นเกิดจากรากกลิ่นเกิดจากแก่น กลิ่นเกิดจากดอก, กลิ่นของคันธชาติเหล่านั้นฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น ไปทวนลมไม่ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปได้แม้ทวนลม คันธชาตินั้น มีอยู่หรือหนอแล ? ครั้งนั้น  ท่านได้มีความคิดนี้ว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยปัญหาที่จะวินิจฉัยด้วยตนเอง, เราจักทูลถามพระศาสดานั่นแหละ (ดีกว่า) ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น, เข้าไปเฝ้าโดยทิสาภาคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้ากลิ่นของคันธชาติเหล่าใด ฟุ้งไปตามลมอย่างเดียว ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, คันธชาติเหล่านี้มี ๓ อย่าง. คันธชาติ ๓ อย่างเป็นไฉน ?พระเจ้าข้า กลิ่นของคันธชาติเหล่าใด ฟุ้งไปตามลมอย่างเดียว ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, คันธชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล คือ กลิ่นเกิดจากราก, กลิ่นเกิดจากแก่น, กลิ่นเกิดจากดอก. พระเจ้าข้า กลิ่นของคันธชาติใดฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่น ของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตินั้น บางอย่าง มีอยู่หรือหนอแล ?
[พระศาสดาทรงเฉลยปัญหา]
 ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงเฉลยปัญหาแก่ท่าน จึงตรัสว่า อานนท์ กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตินั้น มีอยู่.
พระอานนท์. พระเจ้าข้า ก็กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใดฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตินั้นเป็นไฉน ? พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ หญิงก็ตาม ชายก็ตาม ในบ้านหรือในนิคมใด ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้งดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง, เป็นผู้งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้, เป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เป็นผู้งดเว้นจากการกล่าวเท็จ, เป็นผู้งดเว้นจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มน้ำเมาได้แก่ สุราและเมรัย, เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม, มีใจมีความตระหนี่เป็นมลทินไปปราศแล้ว มีเครื่องบริจาคอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน การจำแนกทาน ย่อมอยู่ครอบครองเรือน, สมณะและพราหมณ์ในทิศทั้งหลาย ย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณของหญิงและชายนั้นว่า หญิงหรือชายในบ้านหรือในนิคม ชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง,.ลฯ ยินดีในการจำแนกทาน. แม้เทวดาทั้งหลายย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณของหญิงและชายนั้นว่า หญิงหรือชายในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง,.
ล.ยินดีในการจำแนกทาน. อานนท์ นี้แล เป็นคันธชาติมีกลิ่นฟุ้งไปตามลมก็ได้, มีกลิ่นฟุ้งไปทวนลมก็ได้, มีกลิ่นฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้ ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :- กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, กลิ่นจันทน์ หรือกลิ่นกฤษณาและกะลำพักก็ฟุ้งไปไม่ได้, แต่ กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้, (เพราะ) สัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ, กลิ่นจันทน์ ก็ดี แม้กลิ่นกฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่น ดอกมะลิก็ดี, กลิ่นศีลเป็นเยี่ยม กว่าคันธชาตทั้งหลายนั่น.
[แก้อรรถ]
 บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ความว่า ต้นแคฝอยในภพชื่อดาวดึงส์ โดยด้านยาวและด้านกว้าง มีประมาณ (ด้าน ละ) ๑๐๐ โยชน์, รัศมีดอกไม้ของต้นแคฝอยนั้นแผ่ออกไปตลอด ๕๐โยชน์, กลิ่นฟุ้งไปได้ ๑๐๐ โยชน์, แม้กลิ่นนั้น ก็ฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น, แต่หาสามารถฟุ้งไปทวนลมได้แม้ (เพียง) ครึ่งองคุลีไม่. กลิ่นดอกไม้แม้เห็นปานนี้ ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้.
บทว่า จนฺทน ได้แก่ กลิ่นจันทน์. ด้วยบทว่า ตครมลฺลิกา วา นี้ ทรงพระประสงค์กลิ่นของคันธชาติแม้เหล่านี้เหมือนกัน. แท้จริง กลิ่นของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและกะลำพักก็ดี ซึ่งเป็นยอดแห่งกลิ่นที่เกิดจากแก่นทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. สองบทว่า สตญฺจ คนฺโธ ความว่า ส่วนกลิ่นศีลของสัตบุรุษ คือของพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปทวนลมได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะสัตบุรุษ ย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ. อธิบายว่าเพราะสัตบุรุษ ย่อมฟุ้งปกคลุมไป ตลอดทุกทิศด้วยกลิ่นศีล, ฉะนั้น สัตบุรุษอันบัณฑิตควรกล่าวได้ว่า กลิ่นของท่านฟุ้งไปทวนลมได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ปฏิวาตเมติ. บทว่า วสฺสิกี ได้แก่ ดอกมะลิ.
บทว่า เอเตส เป็นต้น ความว่า กลิ่นศีลของสัตบุรุษ ผู้มีศีลนั่นแล เป็นกลิ่นยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาติ มีจันทน์ (แดง)เป็นต้นเหล่านี้ คือ หากลิ่นที่เหมือนไม่มี ได้แก่ ไม่มีส่วนเปรียบ เทียบได้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

. อานนฺทตฺเถรปญฺหาวตฺถุ
ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมตีติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา สาวตฺถิยํ วิหรนฺโต อานนฺทตฺเถรสฺส ปญฺหํ วิสฺสชฺเชนฺโต กเถสิ.

๙. อ. เรื่องแห่งปัญหาของพระเถระชื่อว่าอานนท์
(อันข้าพเจ้า จะกล่าว) ฯ

            อ. พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี เมื่อทรงแก้ ซึ่งปัญหา ของพระเถระชื่อว่าอานนท์ ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนา นี้ ว่า น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ ดังนี้เป็นต้น ฯ

เถโร กิร สายนฺหสมเย ปฏิสลฺลีโน จินฺเตสิ ภควตา มูลคนฺโธ สารคนฺโธ ปุปฺผคนฺโธติ ตโย อุตฺตมคนฺธา วุตฺตา เตสํ อนุวาตเมว คนฺโธ คจฺฉติ โน ปฏิวาตํ. อตฺถิ นุ โข ตํ คนฺธชาตํ ยสฺส ปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉตีติ.

 ได้ยินว่า อ. พระเถระ หลีกเร้นแล้ว ในสมัยเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน คิดแล้ว ว่า อ. กลิ่นอันสูงสุด ท. สาม คือ อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากราก อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากแก่น อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากดอกไม้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว, อ. กลิ่น ของกลิ่นอันสูงสุด ท. สามเหล่านั้น ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม; อ. กลิ่น ของคันธชาตใดย่อมไปป แม้สู่ที่ทวนแก่ลม อ. คันธชาตนั้น มีอยู่ หรือหนอ แล ดังนี้ ฯ


อถสฺส เอตทโหสิ กึ มยฺหํ อตฺตนา วินิจฺฉิเตน สตฺถารํเยว ปุจฺฉิสฺสามีติ. โส สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ปุจฺฉิ

ครั้งนั้น อ. ความคิดนั่น ว่า อ.ประโยชน์อะไร ของเรา ด้วยการวินิจฉัย ด้วยตน, อ. เรา จักทูลถาม ซึ่งพระศาสดานั่นเทียว ดังนี้ ได้มีแล้ว แก่พระเถระนั้น ฯ อ. พระเถระนั้น เข้าไปเฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดา ทูลถามแล้ว ฯ 


เตน วุตฺตํ อถ โข อายสฺมา อานนฺโท สายนฺหสมเย ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข อายสฺมา อานนฺโท ภควนฺตํ เอตทโวจ
ตีณิมานิ ภนฺเต คนฺธชาตานิ เยสํ อนุวาตเมว คนฺโธ คจฺฉติ โน ปฏิวาตํ. กตมานิ ตีณิ? มูลคนฺโธ สารคนฺโธ ปุปฺผคนฺโธ อิมานิ โข ภนฺเต ตีณิ คนฺธชาตานิ. เยสํ อนุวาตเมว คนฺโธ คจฺฉติ โน ปฏิวาตํ. อตฺถิ นุ โข ภนฺเต กิญฺจิ คนฺธชาตํ ยสฺส อนุวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ ปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ อนุวาตปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉตีติ?

เพราะเหตุนั้น (อ. คำ) ว่า ครั้งนั้นแล อ. พระอานนท์ ผู้มีอายุ ออกแล้ว จากที่เป็นที่หลีกเร้น ในสมัยเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน, อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า (ย่อมประทับอยู่ โดยส่วนแห่งทิศ) ใด, เข้าไปเฝ้าแล้ว (โดยส่วนแห่งทิศ) นั้น; ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลแล้ว ซึ่งคำนั่น กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.กลิ่น ของคันธชาต ท. เหล่าใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว, ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม อ. คันธชาต ท. เหล่านี้ สาม ฯ อ. คันธชาต ท. ๓ เหล่าไหน ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. กลิ่น ของคันธชาต ท. เหล่าใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม อ. คันธชาต ท. สาม เหล่านี้ แล คือ อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากราก, อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากแก่น, อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากดอกไม้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. กลิ่น ของอันธชาตใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมและที่ทวนแก่ลมบ้าง อ. คันธชาต อะไร ๆ (นั้น) มีอยู่หรือ หนอ แล ดังนี้ (ดังนี้) (อันพระธรรมสังคาหกาจารย์) กล่าวแล้ว ฯ 



อถสฺส ภควา ปญฺหํ วิสฺสชฺเชนฺโต
ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงเฉลยปัญหาแก่ท่าน จึงตรัสว่า
อตฺถานนฺท กิญฺจิ คนฺธชาตํ ยสฺส อนุวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ ปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ อนุวาตปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉตีติ.
อานนท์ กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตินั้น มีอยู่.

กตมํ ปน ตํ ภนฺเต คนฺธชาตํ? ยสฺส อนุวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ ปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ อนุวาตปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉตีติ?
พระอานนท์. พระเจ้าข้า ก็กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาติใดฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตินั้นเป็นไฉน ?
อิธานนฺท ยสฺมึ คาเม วา นิคเม วา อิตฺถี วา ปุริโส วา พุทฺธํ สรณํ คโต โหติ ธมฺมํ สรณํ คโต โหติ สงฺฆํ สรณํ คโต โหติ ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ กาเมสุมิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรโต โหติ สีลวา โหติ กลฺยาณธมฺโม วิคตมลมจฺเฉเรน เจตสา อคารํ อชฺฌาวสติ มุตฺตจาโค ปยตปาณิ โวสฺสคฺครโต ยาจโยโค ทานสํวิภาครโต.
พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ หญิงก็ตาม ชายก็ตาม ในบ้านหรือในนิคมใด ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้งดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง, เป็นผู้งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้, เป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เป็นผู้งดเว้นจากการกล่าวเท็จ, เป็นผู้งดเว้นจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มน้ำเมาได้แก่ สุราและเมรัย, เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม, มีใจมีความตระหนี่เป็นมลทินไปปราศแล้ว มีเครื่องบริจาคอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน การจำแนกทาน ย่อมอยู่ครอบครองเรือน,
ตสฺส ทิสาสุ สมณพฺราหฺมณา วณฺณํ ภาสนฺติ อมุกสฺมึ นาม คาเม วา นิคเม วา อิตฺถี วา ปุริโส วา พุทฺธํ สรณํ คโต โหติ ธมฺมํ สรณํ คโต โหติ สงฺฆํ สรณํ คโต โหติ. เป. ทานสํวิภาครโต”’ติ.เทวตาปิสฺส วณฺณํ ภาสนฺติ อมุกสฺมึ นาม คาเม วา นิคเม วา อิตฺถี วา ปุริโส วา พุทฺธํ สรณํ คโต โหติ ธมฺมํ สรณํ คโต โหติ สงฺฆํ สรณํ คโต โหติ. เป. ทานสํวิภาครโต”’ติ.
สมณะและพราหมณ์ในทิศทั้งหลาย ย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณของหญิงและชายนั้นว่า หญิงหรือชายในบ้านหรือในนิคม ชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง,.ลฯ ยินดีในการจำแนกทาน. แม้เทวดาทั้งหลายย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณของหญิงและชายนั้นว่า หญิงหรือชายในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง,.

 อิทํ โข ตํ อานนฺท คนฺธชาตํ ยสฺส อนุวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ ปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉติ อนุวาตปฏิวาตมฺปิ คนฺโธ คจฺฉตีติ (. นิ. ๓๘) วตฺวา อิมา คาถา อภาสิ

อานนท์ นี้แล เป็นคันธชาติมีกลิ่นฟุ้งไปตามลมก็ได้, มีกลิ่นฟุ้งไปทวนลมก็ได้, มีกลิ่นฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้ ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๕๔.    ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ
         จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา.
         สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
         สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ. (. นิ. ๓๘).
๕๕.    จนฺทนํ ตครํ วาปิ อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี.
         เอเตสํ คนฺธชาตานํ สีลคนฺโธ อนุตฺตโรติ.

กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, กลิ่นจันทน์ หรือกลิ่นกฤษณาและกะลำพักก็ฟุ้งไปไม่ได้, แต่ กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้, (เพราะ) สัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ, กลิ่นจันทน์ ก็ดี แม้กลิ่นกฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่น ดอกมะลิก็ดี, กลิ่นศีลเป็นเยี่ยม กว่าคันธชาตทั้งหลายนั่น.
ตตฺถ ปุปฺผคนฺโธติ ตาวตึสภวเน ปริจฺฉตฺตกรุกฺโข อายามโต วิตฺถารโต โยชนสติโก ตสฺส ปุปฺผานํ อาภา ปญฺญาส โยชนานิ คจฺฉติ คนฺโธ โยชนสตํ โสปิ อนุวาตเมว คจฺฉติ ปฏิวาตํ ปน อฏฺฐงฺคุลมตฺตมฺปิ คนฺตุํ สกฺโกติ เอวรูโปปิ ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ความว่า ต้นแคฝอยในภพชื่อดาวดึงส์ โดยด้านยาวและด้านกว้าง มีประมาณ (ด้าน ละ) ๑๐๐ โยชน์, รัศมีดอกไม้ของต้นแคฝอยนั้นแผ่ออกไปตลอด ๕๐โยชน์, กลิ่นฟุ้งไปได้ ๑๐๐ โยชน์, แม้กลิ่นนั้น ก็ฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น, แต่หาสามารถฟุ้งไปทวนลมได้แม้ (เพียง) ครึ่งองคุลีไม่. กลิ่นดอกไม้แม้เห็นปานนี้ ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้.

จนฺทนนฺติ จนฺทนคนฺโธ. ตครมลฺลิกา วาติ อิเมสมฺปิ คนฺโธ เอว อธิปฺเปโต. สารคนฺธานํ อคฺคสฺส หิ โลหิตจนฺทนสฺสาปิ ตครสฺสปิ มลฺลิกายปิ อนุวาตเมว วายติ โน ปฏิวาตํ.
บทว่า จนฺทน ได้แก่ กลิ่นจันทน์. ด้วยบทว่า ตครมลฺลิกา วา นี้ ทรงพระประสงค์กลิ่นของคันธชาติแม้เหล่านี้เหมือนกัน. แท้จริง กลิ่นของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและกะลำพักก็ดี ซึ่งเป็นยอดแห่งกลิ่นที่เกิดจากแก่นทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้.

สตญฺจ คนฺโธติ สปฺปุริสานํ ปน พุทฺธปจฺเจกพุทฺธสาวกานํ สีลคนฺโธ ปฏิวาตเมติ. กึ การณา? สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ยสฺมา ปน สปฺปุริโส สีลคนฺเธน สพฺพาปิ ทิสา อชฺโฌตฺถริตฺวาว คจฺฉติ ตสฺมา ตสฺส คนฺโธ ปฏิวาตเมตีติ วตฺตพฺโพ เตน วุตฺตํ ปฏิวาตเมตีติ. วสฺสิกีติ ชาติสุมนา.
สองบทว่า สตญฺจ คนฺโธ ความว่า ส่วนกลิ่นศีลของสัตบุรุษ คือของพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปทวนลมได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะสัตบุรุษ ย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ. อธิบายว่าเพราะสัตบุรุษ ย่อมฟุ้งปกคลุมไป ตลอดทุกทิศด้วยกลิ่นศีล, ฉะนั้น สัตบุรุษอันบัณฑิตควรกล่าวได้ว่า กลิ่นของท่านฟุ้งไปทวนลมได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ปฏิวาตเมติ. บทว่า วสฺสิกี ได้แก่ ดอกมะลิ.
เอเตสนฺติ อิเมสํ จนฺทนาทีนํ คนฺธชาตานํ คนฺธโต สีลวนฺตานํ สปฺปุริสานํ สีลคนฺโธว อนุตฺตโร อสทิโส อปฏิภาโคติ.
บทว่า เอเตส เป็นต้น ความว่า กลิ่นศีลของสัตบุรุษ ผู้มีศีลนั่นแล เป็นกลิ่นยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาติ มีจันทน์ (แดง) เป็นต้นเหล่านี้ คือ หากลิ่นที่เหมือนไม่มี ได้แก่ ไม่มีส่วนเปรียบ เทียบได้.
เทสนาวสาเน พหู โสตาปตฺติผลาทีนิ ปตฺตา. เทสนา มหาชนสฺส สาตฺถิกา ชาตาติ.
อานนฺทตฺเถรปญฺหาวตฺถุ นวมํ.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.




๙. อ. เรื่องแห่งปัญหาของพระเถระชื่อว่าอานนท์
(อันข้าพเจ้า จะกล่าว) ฯ
            อ. พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี เมื่อทรงแก้ ซึ่งปัญหา ของพระเถระชื่อว่าอานนท์ ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนา นี้ ว่า น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ ดังนี้เป็นต้น ฯ
            ได้ยินว่า อ. พระเถระ หลีกเร้นแล้ว ในสมัยเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน คิดแล้ว ว่า อ. กลิ่นอันสูงสุด ท. สาม คือ อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากราก อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากแก่น อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากดอกไม้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว, อ. กลิ่น ของกลิ่นอันสูงสุด ท. สามเหล่านั้น ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม; อ. กลิ่น ของคันธชาตใดย่อมไปป แม้สู่ที่ทวนแก่ลม อ. คันธชาตนั้น มีอยู่ หรือหนอ แล ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ. ความคิดนั่น ว่า อ.ประโยชน์อะไร ของเรา ด้วยการวินิจฉัย ด้วยตน, อ. เรา จักทูลถาม ซึ่งพระศาสดานั่นเทียว ดังนี้ ได้มีแล้ว แก่พระเถระนั้น ฯ อ. พระเถระนั้น เข้าไปเฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดา ทูลถามแล้ว ฯ เพราะเหตุนั้น (อ. คำ) ว่า ครั้งนั้นแล อ. พระอานนท์ ผู้มีอายุ ออกแล้ว จากที่เป็นที่หลีกเร้น ในสมัยเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน, อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า (ย่อมประทับอยู่ โดยส่วนแห่งทิศ) ใด, เข้าไปเฝ้าแล้ว (โดยส่วนแห่งทิศ) นั้น; ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลแล้ว ซึ่งคำนั่น กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.กลิ่น ของคันธชาต ท. เหล่าใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว, ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม อ. คันธชาต ท. เหล่านี้ สาม ฯ อ. คันธชาต ท. ๓ เหล่าไหน ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. กลิ่น ของคันธชาต ท. เหล่าใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม อ. คันธชาต ท. สาม เหล่านี้ แล คือ อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากราก, อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากแก่น, อ. กลิ่นอันเกิดแล้วจากดอกไม้ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. กลิ่น ของอันธชาตใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมและที่ทวนแก่ลมบ้าง อ. คันธชาต อะไร ๆ (นั้น) มีอยู่หรือ หนอ แล ดังนี้ (ดังนี้) (อันพระธรรมสังคาหกาจารย์) กล่าวแล้ว ฯ ครั้งนั้น อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแก้ซึ่งปัญหา ของพระเถระนั้น (ตรัสแล้ว) ว่า ดูก่อนอานนท์ อ. กลิ่น ของคันธชาตใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลม บ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมและที่ทวนแก่ลมบ้าง อ. คันธชาต (นั้น) มีอยู่ ดังนี้ ฯ (อ. พระเถระ ทูลถามแล้ว) ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ อ. กลิ่น ของคันธชาตใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมและที่ทวนแก่ลมบ้าง อ. คันธชาตนั้น เป็นไฉน ดังนี้ ฯ (อ. พระศาสดา ตรัสแล้ว) ว่า ดูก่อนอานนท์ อ. หญิง หรือ หรือว่า อ. บุรุษ ในบ้านหรือ หรือว่าในนิคม ใด ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ย่อมเป็น, เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งพระธรรม ว่าเป็นสรณะ ย่อมเป็น, เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ย่อมเป็น ; เป็นผู้เว้นเฉพาะแล้ว จากเจตนาธรรมเป็นเหตุยังสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป ย่อมเป็น, เป็นผู้เว้นเฉพาะแล้ว จากการถือเอาซึ่งวัตถุอันเจ้าของไม่ให้แล้วย่อมเป็น, เป็นผู้เว้นเฉพาะแล้ว จากความประพฤติผิด ในกาม ท. ย่อมเป็น, เป็นผู้เว้นเฉพาะแล้วจากการกล่าวเท็จ ย่อมเป็น, เป็นผู้เว้นเฉพาะแล้ว จากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมเป็น ; เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีธรรมอันงาม ย่อมเป็น ; มีใจ อันมีความตระหนี่อันเป็นมลทินไปปราศแล้ว ผู้มีการสละอันปล่อยแล้ว ผู้มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ผู้ยินดีแล้วในการสละลง ผู้ควรแก่การขอ ผู้ยินดีแล้วในการจำแนกซึ่งท่าน ย่อมอยู่ครอบครอง ซึ่งเรือน, อ. สมณะและพราหมณ์ ท. ในทิศ ท. ย่อมกล่าว ซึ่งคุณอันบุคคลพึงพรรณนา (ของหญิง หรือ หรือว่าของบุรุษ) นั้น ว่า อ. หญิงหรือ หรือว่า อ. บุรุษ ในบ้านหรือ หรือว่าในนิคม ชื่อโน้น เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ย่อมเป็น, ฯลฯ ผู้ยินดีแล้วในการจำแนกซึ่งทาน (ย่อมอยู่ครอบครอง ซึ่งเรือน) ดังนี้ ฯ แม้ อ. เทวดา ท. ย่อมกล่าว ซึ่งคุณอันบุคคลพึงพรรณนา (ของหญิงหรือ หรือว่าของบุรุษ) นั้น ว่า อ. หญิงหรือ หรือว่า อ. บุรุษ ในบ้านหรือ หรือว่าในนิคม ชื่อโน้น เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ย่อมเป็น, ฯลฯ ผู้ยินดีในการจำแนกซึ่งทาน (ย่อมอยู่ครอบครอง ซึ่งเรือน) ดังนี้ ฯ ดูก่อนอานนท์ อ. กลิ่น ของคันธชาตใด ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลมบ้าง, อ. กลิ่น (ของคันธชาตใด) ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมและที่ทวนแก่ลมบ้าง อ. คันธชาตนั้น นี้ แล ดังนี้ ได้ตรัสแล้ว ซึ่งพระคาถา ท. เหล่านี้ ว่า
                                    อ. กลิ่นของดอกไม้  ย่อมไป  สู่ที่ทวนแก่ลม
                                    หามิได้, อ. (กลิ่น)  จันทน์หรือ  หรือว่า อ.
                                    (กลิ่น)  กฤษณาและ  (กลิ่น) กะลำพัก (ย่อม
                                    ไป สู่ที่ทวนแก่ลม)  หามิได้ ; ส่วนว่า  อ.
                                    กลิ่น  ของสัตบุรุษ  ท. ย่อมไป  สู่ที่ทวน
                                    แก่ลม ฯ (เพราะว่า)  อ. สัตบุรุษ ย่อมฟุ้งไป
                                    สู่ทิศ  ท.  ทั้งปวง ฯ
            อ. (กลิ่น)  จันทน์หรือ  แม้หรือว่า  อ.  (กลิ่น)  กฤษณา  อ. (กลิ่น) ดอกอุบลหรือ
            หรือว่า อ. (กลิ่น)  ดอกมะลิ   อ. กลิ่นแห่งศีล เป็นกลิ่นยอดเยี่ยม  กว่าคันธชาต
ท.    เหล่านั้น  (ย่อมเป็น)  ดังนี้ ฯ
(อ. อรรถ) ว่า อ.ต้นแคฝอย  ในภพชื่อว่าดาวดึงส์ เป็นต้นไม้ประกอบแล้วด้วย
ร้อยแห่งโยชน์ โดยยาวด้วย โดยกว้างด้วย (ย่อมเป็น), อ. รัศมี แห่งดอกไม้ ท. ของต้นแคฝอยนั้น ย่อมไปสิ้นโยชน์ ๕๐ ท., อ. กลิ่น (ย่อมไป) สิ้นร้อยแห่งโยชน์, อ. กลิ่นแม้นั้น ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว, แต่ว่า (อ. กลิ่นนั้น) ย่อมไม่อาจ เพื่ออันไป สู่ที่ทวนแก่ลม แม้สิ้นนิ้วมือด้วยทั้งกึ่ง, อ. กลิ่นของดอกไม้ แม้มีอย่างนี้เป็นรูป ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลม หามิได้ (ดังนี้ ในบท ท.) เหล่านั้นหนา (แห่งบท) ว่า น ปุปฺผคนฺโธ  ดังนี้ ฯ อ. กลิ่นคือจันทน์ ชื่อว่า จันทนะ ฯ อ. กลิ่น ของคันธชาต ท. แม้เหล่านี้ นั่นเทียว (อันพระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงประสงค์เอาแล้ว (ในบทนี้) ว่า ตครมลฺลิกา  วา  ดังนี้ ฯ จริงอยู่ (อ. กลิ่น) ของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและกะลำพักก็ดี  อันเป็นเลิศ แห่งกลิ่นอันเกิดแล้วจากแก่น ท. ย่อมไป สู่ที่ตามซึ่งลมนั่นเทียว ย่อมไม่ไป สู่ที่ทวนแก่ลม ฯ (อ. อรรถ) ว่า ส่วนว่า อ. กลิ่นแห่งศีล ของสัตบุรุษ ท. คือว่า ของพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก ท. ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลม (ดังนี้ แห่งหมวดสองแห่งบท) ว่า สตญฺจ  คนฺโธ  ดังนี้ ฯ (อ. อันถาม ว่า อ. กลิ่น ของสัตบุรุษ ท. ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลม) เพราะเหตุอะไร ? (ดังนี้) (อ. อันแก้ ว่า เพราะว่า) อ. สัตบุรุษ ย่อมฟุ้งไป สู่ทิศ ท. ทั้งปวง ดังนี้ (อ. อธิบาย) ว่า อ. สัตบุรุษย่อมท่วมทับไป สู่ทิศ ท. ทั้งปวง ด้วยกลิ่นแห่งศีล เหตุใด ; เพราะเหตุนั้น (อ. สัตบุรุษนั้น) (อันบัณฑิต) พึงกล่าว ว่า อ. กลิ่น ของสัตบุรุษนั้น ย่อมไป สู่ที่ทวนแก่ลม ดังนี้ ; เพราะเหตุนั้น (อ. คำ) ว่า ปฏิวาตเมติ  ดังนี้ (อันพระผู้มีพระภาคเจ้า) ตรัสแล้ว (ดังนี้ อันบัณฑิต พึงทราบ) ฯ อ. ดอกมะลิโดยชาติ ชื่อว่า วัสสิกี  ฯ (อ. อรรถ) ว่า อ. กลิ่นแห่งศีล ของสัตบุรุษ ท. ผู้มีศีล เทียว เป็นกลิ่นยอดเยี่ยม กว่ากลิ่น ของคันธชาต ท. มีจันทน์เป็นต้น เหล่านี้ คือว่า เป็นกลิ่นไม่มีกลิ่นอื่นเช่นกับ คือว่า เป็นกลิ่นไม่มีส่วนเปรียบ (ย่อมเป็น) (ดังนี้ แห่งบท) ว่า เอเตสํ ดังนี้เป็นต้น ฯ
            ในกาลเป็นที่สุดลงแห่งเทศนา (อ. ชน ท.) มาก บรรลุแล้ว (ซึ่งอริยผล ท. ) มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ฯ อ. เทศนา เป็นเทศนาเป็นไปกับด้วยวาจามีประโยชน์ เกิดแล้ว แก่มหาชน ดังนี้แล ฯ
อ. เรื่องแห่งปัญหาของพระเถระชื่อว่าอานนท์ (จบแล้ว) ฯ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น