วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แปลโดยพยัญชนะเรื่อง วิฑูฑภะ



 

 

๓.  อ. เรื่องแห่งพระเจ้าวิฑูฑภะ  (อันข้าพเจ้า  จะกล่าว)ฯ

            อ. พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่  ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี  ทรงปรารภ  ซึ่งพระเจ้าวิฑูฑภะ  ผู้เป็นไปกับด้วยบริษัท  ผู้อันห้วงน้ำท่วมทับแล้วให้สวรรคแล้ว  ตรัสแล้ว  ซึ่งพระธรรมเทศนา นี้ว่า  ปุปฺผานิ  เหว  ปจินนฺตํ  ดังนี้เป็นต้น ฯ * ก. ๓ *

            อ.  วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ  ในเรื่องนั้น  นี้ (อ.  พระกุมาร ท.)  สาม เหล่านี้ คือ อ.พระโอรส  ของพระราชาพระนามว่ามหาโกศล  ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี  พรนามว่าปเสนทิกุมาร,  อ. พระกุมารของเจ้าลิจฉวี  ในเมืองชื่อว่าเวสาลี  พระนามว่ามหาลิ,  อ. พระโอรสของเจ้ามัลละในเมืองชื่อว่ากุสินารา  พระนามว่าพันธุละ  เสด็จไปแล้ว  สู่เมืองชื่อว่าตักกสิลา  เพื่ออันทรงเรียนเอาซึ่งศิลปะ  ในสำนัก  ของอาจารย์ผู้ทิศาปาโมกข์  เสด็จมาพร้อมกันแล้ว  ที่ศาลา  ในภายนอกแห่งพระนคร  ตรัสถามแล้ว  ซึ่งเหตุแห่งพระองค์เสด็จมาแล้วด้วย  ซึ่งตระกูลด้วย  ซึ่งพระนามด้วย  ของกันและกัน  เป็นพระสหายกัน  เป็น  เสด็จเข้าไปหาแล้ว  ซึ่งอาจารย์  โดยความเป็นอันเดียวกันเทียว  ผู้มีศิลปะอันทรงเรียนเอาแล้ว  ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว  ทรงอำลาแล้ว  ซึ่งอาจารย์  เสด็จออกแล้ว  โดยความเป็นอันเดียวกันเทียว  ได้เสด็จไปแล้ว  สู่ที่อันเป็นของพระองค์และอันเป็นของพระองค์ ท. ฯ  (ในพระกุมาร ท. สาม)  เหล่านั้นหนา  อ. พระกุมารพระนามว่าปเสนทิ  ทรงแสดงแล้ว ซึ่งศิลปะแก่พระบิดา  อันพระบิดา  ผู้ทรงเลื่อมใสแล้ว  ทรงอภิเสกแล้ว  ในความเป็นแห่งพระราชา ฯ อ. พระกุมารพระนามว่ามหาลิ  เมื่อทรงแสดง  ซึ่งศิลปะ  แก่เจ้าลิจฉวี  ท. ทรงแสดงแล้ว  ด้วยความอุตสาหะ  อันใหญ่ ฯ อ. พระเนตร ท. ของพระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น  ได้แตกไปแล้ว ฯ อ. เจ้าลิจฉวี ท. (ทรงปรึกษากันแล้ว) ว่า  โอ! หนอ  อ. อาจารย์  ของเรา  ท. ทรงถึงแล้ว  ซึ่งความพินาศแห่งพระเนตร,  อ. เรา  ท.  จักไม่สละรอบ  ซึ่งอาจารย์นั้น  อ. เรา  ท.  จักบำรุง  ซึ่งอาจารย์นั้นดังนี้  ได้ถวายแล้ว  ซึ่งประตู  ประตูหนึ่ง  อันเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งแสนแห่งทรัพย์  แก่พระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น ฯ  อ. พระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น  ทรงอาศัยแล้ว  ซึ่งประตูนั้น  ทรงยังโอรสของเจ้าลิจฉวี  ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ  ให้ศึกษาอยู่  ซึ่งศิลปะ  ประทับอยู่แล้ว ฯ  อ.  พระกุมารพระนามว่าพันธุละ,  (ครั้นเมื่อพระดำรัส) ว่า  (อ. เจ้าพันธุละ)  จงฟัน (ซึ่งมัดหกสิบ  ท.)  เหล่านี้  ดังนี้  อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ  ท.  ตรัสแล้ว,  ทรงกระโดดขึ้นแล้ว  สู่อากาศ  มีศอกแปดสิบเป็นประมาณทรงฟันอยู่  ซึ่งมัดหกสิบ ท. อัน (อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ท.)  ทรงถือเอาแล้ว  ซึ่งไม้ไผ่  ท.  หกสิบทรงใส่เข้าแล้ว  ซึ่งซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก  ในท่ามกลาง  ทรงให้ยกขึ้นแล้ว  ทรงตั้งไว้แล้ว  ด้วยดาบ  ได้เสด็จไปแล้ว ฯ  อ. พระกุมารพระนามว่าพันธุละนั้น  ทรงสดับแล้ว  ซึ่งเสียง  ว่า  กริ๊ก  ดังนี้ของซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก  ในมัดอันเป็นที่สุดลง  ตรัสถามแล้ว  ว่า  อ.  เสียงนั่น * อะไร ? ดังนี้  ทรงสดับแล้ว  ซึ่งความที่แห่งซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก  ท. เป็นซี่ (อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ  ท.) ทรงตั้งไว้แล้ว  ในมัดทั้งปวง ท. ทรงทิ้งแล้ว ซึ่งดาบ กันแสงอยู่  ตรัสแล้ว ว่า ในญาติและสหายผู้มีใจดี  ท.  มีประมาณเท่านี้  ของเราหนา (อ. บุคคล)  แม้คนหนึ่ง เป็นผู้เป็นไปกับด้วยความรักเป็น ไม่บอกแล้ว  ซึ่งเหตุนี้ (แก่เรา); ก็ ถ้าว่า อ. เรา พึงรู้ไซร้, อ. เรา พึงตัด ยังเสียง ของซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก ไม่ให้ตั้งขึ้นอยู่เทียว  ดังนี้  กราบทูลแล้ว แก่พระมารดาและพระบิดา  ท. ว่า  อ. หม่อมฉัน (ยังเจ้ามัลละ ท.) เหล่านี้  แม้ทั้งปวง ให้ทิวงคตแล้ว (ยังบุคคล) จักให้กระทำ  ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา  ดังนี้, ผู้ (อันพระมารดาและพระบิดา ท.) ทรงห้ามแล้ว โดยประการต่าง ๆ ว่า แน่ะพ่อ (อ. ความเป็นแห่งพระราชา) นี้ ชื่อว่าเป็นความเป็นแห่งพระราชาตามประเพณี (ย่อมเป็น), (อ. ความเป็นแห่งพระราชานี้) (อันเจ้า) ไม่พึงได้ เพื่ออันกระทำ อย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น  ทูลแล้ว ว่า ถ้าอย่างนั้น อ. หม่อมฉัน จักไป สู่สำนัก ของพระสหาย ของหม่อมฉัน ดังนี้ ได้เสด็จไปแล้ว สู่เมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ อ. พระราชาพระนามว่าปเสนทิ ทรงสดับแล้ว ซึ่งการเสด็จมา แห่งเจ้าพันธุละนั้น  ทรงต้อนรับแล้ว (ทรงยังเจ้าพันธุละ) ให้เสด็จเข้าไปแล้ว สู่พระนคร ด้วยสักการะอันใหญ่ ทรงตั้งไว้แล้ว ในตำแหน่งแห่งเสนาบดี ฯ  อ. เจ้าพันธุละนั้น (ทรงยังบุคคล) ให้ร้องเรียกแล้ว  ซึ่งพระมารดาและพระบิดา ท.  ทรงสำเร็จแล้ว ซึ่งการประทับอยู่  ในเมืองชื่อว่าสาวัตถีนั้นนั่นเทียว ฯ

            ครั้งนั้น  ในวันหนึ่ง อ. พระราชา ประทับยืนแล้ว ในเบื้องบนแห่งปราสาท  ทรงแลดูอยู่ซึ่งระหว่างแห่งถนน  ทรงเป็นแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. มีพันมิใช่หนึ่ง ผู้ไปอยู่ เพื่อประโยชน์แก่กิจด้วยภัตรในเรือน ของ ชน ท. เหล่านั้น คือ ของเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบิณฑิกะ ของนางวิสาขา ของนางสุปปวาสา  ตรัสถามแล้ว ว่า อ. พระผู้เป็นเจ้า ท. ย่อมไปในที่ไหน ? ดังนี้, (ครั้นเมื่อคำ) ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. พันแห่งภิกษุ ท. สอง ย่อมไปทุก ๆ วัน  เพื่อประโยชน์ (แก่ภัตร ท.) มีนิตยภัตรและสลากภัตรและคิลานภัตร เป็นต้น ในเรือนของเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ, อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือน ของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบินฑิกะ เนืองนิตย์, อ. อย่างนั้น คือว่า (อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณย่อมไป สู่เรือน) ของนางวิสาขา (เนืองนิตย์), อ. อย่างนั้น คือว่า (อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือน) ของนางสุปปวาสา (เนืองนิตย์) ดังนี้ (อันราชบุรุษ ท.) กราบทูลแล้ว, เป็นผู้ทรงใคร่เพื่ออันบำรุง  ซึ่งหมู่แห่งภิกษุ  แม้เอง  (เป็น)  เสด็จไปแล้ว  สู่วิหาร  ทรงนิมนต์แล้ว  ซึ่งพระศาสดา  กับ  ด้วยพันแห่งภิกษุ  ทรงถวายแล้ว  ซึ่งทาน  ด้วยพระหัตถ์อันเป็นของพระองค์  ตลอดวันเจ็ด  ถวายบังคมแล้ว  ซึ่งพระศาสดา  กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (อ. พระองค์ ท.) ขอจงทรงรับ ซึ่งภิกษา  ของหม่อมฉัน กับ ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ท. ห้า เนืองนิตย์ ดังนี้ ในวัน ที่เจ็ด ฯ (อ. พระศาสดา ตรัสแล้ว) ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ชื่อ อ. พระพุทธเจ้า ท. ย่อมไม่ทรงรับ ซึ่งภิกษาในที่แห่งเดียวกัน  เนืองนิตย์, (อ. ชน ท.) มาก ย่อมหวังเฉพาะ  ซึ่งการเสด็จมา  แห่งพระพุทธเจ้า ท.  ดังนี้ ฯ (อ. พระราชา กราบทูลแล้ว)  ว่า  ถ้าอย่างนั้น  อ. พระองค์  ท. ขอจงทรงส่งไป ซึ่งภิกษุรูปหนึ่ง เนืองนิตย์ ดังนี้ ฯ อ. พระศาสดา  ได้ทรงกระทำแล้ว ให้เป็นภาระ ของพระเถระชื่อว่าอานนท์ ฯ อ. พระราชา ไม่ทรงจัดการแล้ว ว่า ครั้นเมื่อหมู่แห่งภิกษุ มาแล้ว, (อ. ชน ท.) ชื่อเหล่านี้รับแล้ว ซึ่งบาตร จงอังคาส ดังนี้ ทรงอังคาสแล้ว เองนั่นเทียว ตลอดวันเจ็ด ทรงลืมแล้ว ได้ทรงกระทำแล้ว ซึ่งความเนิ่นช้า ในวัน ที่แปด ฯ ก็ (อ. ชน ท.) ผู้ (อันพระราชา) ไม่ทรงบังคับแล้วชื่อในราชตระกูล ย่อมไม่ได้ เพื่ออันปูลาดซึ่งอาสนะ ท. แล้วยังภิกษุ ท. ให้นั่งแล้วอังคาส ฯ อ. ภิกษุ ท. (กล่าวแล้ว) ว่า อ. เรา ท. จักไม่อาจ เพื่ออันดำรงอยู่ ในที่นี้ ดังนี้ ผู้มาก หลีกไปแล้วฯ อ. พระราชา ทรงลืมแล้ว แม้ในวันที่สอง ฯ อ. ภิกษุ ท. มาก หลีกไปแล้ว แม้ในวันที่สอง ฯ (อ. พระราชา) ทรงลืมแล้ว แม้ในวันที่สาม ฯ ในกาลนั้น (อ. ภิกษุ ท.) ผู้เหลือลง เว้น ซึ่งพระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้ผู้เดียวนั่นเทียว หลีกไปแล้ว ฯ

            ชื่อ (อ. ชน ท.) ผู้มีบุญ เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ ย่อมเป็น ย่อมรักษา ซึ่งความเลื่อมใส แห่งตระกูล ท. ฯ ก็ อ. สาวก ท. ของพระตถาคตเจ้า แม้ทั้งปวง ผู้ถึงแล้วซึ่งฐานันดรกระทำ ซึ่งชน ท. แปด เหล่านี้ คือ อ. อัครสาวก ท. สอง คือ อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตร อ. พระเถระชื่อว่ามหาโมคคัลลานะ, อ. อัครสาวิกา ท. สอง คือ อ. นางเขมา อ. นางอุบลวรรณา, ในอุบาสก ท. หนา (อ. อุบาสก ท.) สอง ผู้เป็นอัครสาวก คือ อ. คฤหบดี ชื่อว่าจิตตะ อ. อุบาสกชื่อว่าหัตถกะผู้อยู่ในเมืองอาฬวี, ในอุบาสิกา ท. หนา (อ. อุบาสิกา ท.) สอง ผู้เป็นอัครสาวิกา คือ อ. มารดาของนันทมาณพ ชื่อว่าเวฬุกัณฏกี อ. นางขุชชุตรา; ให้เป็นต้น เป็นผู้มีบุญมาก เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินิหาร (ย่อมเป็น) เพราะความที่ แห่งบารมี ท. สิบ เป็นบารมีอันตนให้เต็มแล้วโดยเอกเทศ ฯ

            แม้ อ. พระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้มีบารมีอันให้เต็มแล้วตลอดแสนแห่งกัปป์  ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินิหาร  ผู้มีบุญมาก  เมื่อรักษา  ซึ่งความเลื่อมใส  แห่งตระกูล  ได้ตั้งอยู่แล้ว  เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ ฯ (อ. ราชบุรุษ ท.) ยังพระเถระนั้น  ผู้ผู้เดียวนั่นเทียวให้นั่งแล้ว  อังคาสแล้ว ฯ อ. พระราชา เสด็จมาแล้ว  ในกาลแห่งภิกษุ ท. ไปแล้ว  ทอดพระเนตรแล้วซึ่งของอันบุคคลพึงเคี้ยวและของอันบุคคลพึงบริโภค  ท. อันตั้งอยู่แล้ว  อย่างนั้นนั่นเทียว  ตรัสถามแล้ว ว่า อ. พระผู้เป็นเจ้า ท. ไม่มาแล้ว หรือ ? ดังนี้  ทรงสดับแล้ว  ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. พระเถระชื่อว่าอานนท์  ผู้ผู้เดียวเทียว มาแล้ว ดังนี้ กริ้วแล้ว ต่อภิกษุ ท. ว่า (อ. พระผู้เป็นเจ้า ท.) ได้กระทำแล้ว  ซึ่งการตัดขาด  ต่อเรา มีประมาณเท่านี้ แน่แท้ ดังนี้ เสด็จไปแล้ว สู่สำนัก ของพระศาสดา  กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. ภิกษา อันหม่อมฉัน ตระเตรียมแล้ว  เพื่อร้อยแห่งภิกษุ ท. ห้า,  ได้ยินว่า อ.  พระเถระชื่อว่าอานนท์  ผู้ผู้เดียวเทียว มาแล้ว, อ.ภิกษาอัน หม่อมฉันตระเตรียมแล้ว  ตั้งอยู่แล้ว  อย่างนั้นนั่นเทียว,  อ. ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ไม่กระทำแล้ว ซึ่งความสำคัญ ในเรือน ของหม่อมฉัน ; อ. เหตุ  อะไรหนอแล ดังนี้ ฯ อ. พระศาสดาไม่ตรัสแล้ว ซึ่งโทษ ของภิกษุ ท. ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ. ความคุ้นเคย กับ ด้วยพระองค์ ท. แห่งสาวก ท. ของอาตมภาพ  ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น (อ. สาวก ท. ของอาตมภาพ) เป็นผู้ไม่ไปแล้ว จักเป็น ดังนี้ เมื่อทรงประกาศ ซึ่งเหตุแห่งการไม่เข้าไป สู่ตระกูล ท. ด้วย ซึ่งเหตุแห่งการเข้าไป (สู่ตระกูล ท.) ด้วย ตรัสเรียกมาแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ตรัสแล้ว ซึ่งพระสูตร นี้ ว่า

            ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้วไม่ควร เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ฯ (อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท.) เก้า เหล่าไหน ? (อันภิกษุ ไม่เข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันเข้าไปด้วยครั้นเข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย (อ. ชน ท.) ย่อมไม่ต้อนรับ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมไม่กราบไหว้ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมไม่ถวาย ซึ่งอาสนะ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมซ่อน ซึ่งของอันมีอยู่ ต่อภิกษุนั้น, ครั้นเมื่อของมาก (มีอยู่) ย่อมถวาย  โดยไม่เคารพ ย่อมไม่ถวาย โดยเคารพ,  ย่อมไม่นั่งใกล้ เพื่ออันฟังซึ่งธรรม, (เมื่อภิกษุ) กล่าวอยู่ (ซึ่งธรรม)  ย่อมไม่ยินดี ฯ  ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้าเหล่านี้ แล (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ไม่ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ฯ

            ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้วควร  เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ฯ (อ. ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ท.) เก้า เหล่าไหน ? (อันภิกษุ ไม่เข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้วควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย)  (อ. ชน ท.) ย่อมต้อนรับ  ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมกราบไหว้ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมถวาย  ซึ่งอาสนะ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ, ย่อมไม่ซ่อนซึ่งของอันมีอยู่  ต่อภิกษุนั้น,  ครั้นเมื่อของมาก (มีอยู่)  ย่อมถวาย  ซึ่งของมาก,  ครั้นเมื่อของประณีต  (มีอยู่)  ย่อมถวาย  ซึ่งของประณีต,  ย่อมถวาย  โดยเคารพ  ย่อมไม่ถวาย  โดยไม่เคารพ, ย่อมนั่งใกล้เพื่ออันฟังซึ่งธรรม, (เมื่อภิกษุ) กล่าวอยู่ (ซึ่งธรรม) ย่อมยินดี ฯ ดูก่อนภิกษุ ท. อ. ตระกูลอันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า เหล่านี้ แล (อันภิกษุ) ไม่เข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันเข้าไปด้วยครั้นเข้าไปแล้ว ควร เพื่ออันนั่งใกล้ด้วย ดังนี้ ฯ

            (อ. พระศาสดา ตรัสแล้ว) ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ. สาวก ท. ของอาตมภาพ ไม่ได้อยู่ซึ่งความคุ้นเคย จากสำนัก ของพระองค์ ท. เป็นผู้ไม่ไปแล้ว จักเป็น ด้วยประการฉะนี้แล : จริงอยู่ อ. บัณฑิตผู้มีในก่อน ท. แม้ผู้ (อันพระราชา) ทรงบำรุงอยู่ โดยเคารพ  ในที่มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความคุ้นเคย  ถึงแล้ว  ซึ่งเวทนา  มีความตายเป็นที่สุด ไปแล้ว สู่ที่มีความคุ้นเคยนั่นเทียว ดังนี้,  ผู้อันพระราชาทูลถามแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (อ. บัณฑิตผู้มีในก่อน ท. ไปแล้ว สู่ที่มีความคุ้นเคยนั่นเทียว) ในกาลไร ดังนี้ ทรงนำมาแล้ว ซึ่งเรื่องอันล่วงไปแล้ว ว่า

            ในกาลอันล่วงไปแล้ว  ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัต  ทรงยังบุคคลให้กระทำอยู่  ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา  ในเมืองชื่อว่าพาราณสี, อ. พระราชา พระนามว่าเกสวะ  ทรงละแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา ผนวชแล้ว ผนวชโดยความเป็นฤาษี ฯ อ. ร้อยแห่งบุรุษ ท. ห้า บวชตามแล้ว  ซึ่งพระราชานั้น ฯ  อ. พระราชานั้น เป็นผู้ชื่อว่าเกสวดาบส ได้เป็นแล้ว ฯ อนึ่ง อ. นายภูษามาลาผู้ประดับของพระราชานั้น บวชตามแล้ว  เป็นอันเตวาสิก ชื่อว่ากัปปกะ  ได้เป็นแล้ว ฯ อ. ดาบสชื่อว่าเกสวะอยู่แล้ว ในป่าหิมพานต์ สิ้นเดือน ท. ๘ กับ ด้วยบริษัท ถึงแล้ว ซึ่งเมืองชื่อว่าพาราณสี  เพื่อต้องการแก่การเสพซึ่งรสเค็มและรสเปรี้ยว  ในสมัยแห่งภาคพื้นอันฝนย้อมทั่วแล้ว  ได้เข้าไปแล้ว  สู่พระนครเพื่อภิกษา ฯ  ครั้งนั้น อ. พระราชา ทรงเห็นแล้ว ซึ่งพระดาบสนั้น ทรงเลื่อมใสแล้ว ทรงรับแล้วซึ่งปฏิญญา  เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ ในสำนัก ของพระองค์ ตลอดประชุมแห่งเดือน ๔ (ทรงยังพระดาบสนั้น)  ให้อยู่อยู่ ในอุทยาน ย่อมเสด็จไป  สู่ที่เป็นที่บำรุง ซึ่งพระดาบสนั้น  ในเวลาเย็นในเวลาเช้า ฯ อ. อาบส ท. ผู้เหลือลง อยู่แล้ว สิ้นวันเล็กน้อย ผู้อันเสียง ท. มีเสียงแห่งช้างเป็นต้นเบียดเบียนแล้ว กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่อาจารย์ (อ. กระผม ท.) เป็นผู้กระสันขึ้นแล้ว เป็นแล้ว, (อ. กระผม ท.) จะไป ดังนี้ ฯ (อ. พระดาบส  ถามแล้ว)  ว่า  แน่ะพ่อ ท. (อ. เธอ ท. จะไป) ในที่ไหนดังนี้ ฯ (อ. ดาบส ท. เหล่านั้น กล่าวแล้ว) ว่า ข้าแต่อาจารย์ (อ. กระผม ท. จะไป) สู่ป่าหิมพานต์ดังนี้ ฯ (อ. พระดาบส กล่าวแล้ว) ว่า อ. พระราชา ทรงรับแล้ว ซึ่งปฏิญญา เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่นี้  ตลอดประชุมเดือน ๔ ในวันแห่งเรา ท. มาแล้วนั่นเทียว, แน่ะพ่อ ท. (อ. เธอ ท.) จักไปอย่างไร ดังนี้ ฯ (อ. ดาบส ท. เหล่านั้น กล่าวแล้ว)  ว่า  อ. ปฏิญญา  อันท่าน ท. ไม่บอกแล้ว แก่กระผม ท. เทียว ถวายแล้ว, อ. กระผม ท. ย่อมไม่อาจ เพื่ออันอยู่ ในที่นี้, (อ. กระผม ท.)  จักอยู่ ในที่เป็นที่ฟังซึ่งความเป็นไปทั่ว  แห่งท่าน ท. อันไม่ไกล จากที่นี้ ดังนี้ ไหว้แล้ว หลีกไปแล้ว ฯ อ. อาจารย์กับ ด้วยอันเตวาสิกชื่อว่ากัปปกะ  ล้าลงแล้ว ฯ  อ. พระราชา เสด็จมาแล้ว  สู่ที่เป็นที่บำรุงตรัสถามแล้ว ว่า อ. พระผู้เป็นเจ้า ท. (ไปแล้ว) ในที่ไหน ดังนี้ ฯ (อ. พระดาบส กราบทูลแล้ว) ว่า ดูก่อนมหาบพิตร (อ.ดาบส ท. เหล่านั้น) กล่าวแล้ว ว่า (อ. กระผม ท.) เป็นผู้กระสันขึ้นแล้วเป็นแล้ว ดังนี้ ไปแล้ว สู่ป่าหิมพานต์ ดังนี้ ฯ แม้ อ. ดาบสชื่อว่ากัปปกะ กระสันขึ้นแล้ว ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว แม้ผู้อันอาจารย์ห้ามอยู่บ่อย ๆ กล่าวแล้ว ว่า อ. กระผม  ย่อมไม่อาจ ดังนี้ หลีกไปแล้ว ฯ  แต่ว่า (อ. ดาบสชื่อว่ากัปปกะนั้น)  ไม่ไปแล้ว สู่สำนัก ของดาบส ท. เหล่านอกนี้ ฟังอยู่ซึ่งความเป็นไปทั่ว  แห่งอาจารย์  อยู่แล้ว  ในที่  อันไม่ไกล ฯ ในกาลอันเป็นส่วนอื่นอีก เมื่ออาจารย์ตามระลึกถึงอยู่  ซึ่งอันเตวาสิก ท. อ. โรคในท้อง เกิดขึ้นแล้ว ฯ อ. พระราชา ทรงยังหมอ ท. ให้เยียวยาอยู่ ฯ อ. โรค ย่อมไม่เข้าไปสงบวิเศษ ฯ อ. พระดาบส กราบทูลแล้ว ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ. พระองค์  ย่อมปรารถนา  เพื่ออันยังโรคของอาตมภาพให้เข้าไปสงบวิเศษหรือ  ดังนี้ ฯ (อ. พระราชา ตรัสแล้ว) ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าว่า อ. ข้าพเจ้า พึงอาจไซร้, (อ. ข้าพเจ้า) พึงกระทำซึ่งความสำราญ แก่ท่าน ท. ในกาลนี้นั่นเทียว ดังนี้ ฯ (อ. พระดาบส กราบทูลแล้ว) ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า (อ.  พระองค์) ย่อมปรารถนา ซึ่งความสำราญ แก่อาตมาภาพไซร้, (อ. พระองค์) ขอจงทรงส่งไป ซึ่งอาตมภาพ สู่สำนัก ของอันเตวาสิก ท. ดังนี้ ฯ อ. พระราชา (ตรัสแล้ว) ว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. ดีละ ดังนี้ ทรงยังพระดาบสนั้นให้นอนแล้ว บนเตียงน้อย ทรงส่งไปแล้วซึ่งอำมาตย์ ท. ๔ มีอำมาตย์ชื่อว่านารทะเป็นประมุข (ด้วยพระดำรัส) ว่า อ. ท่าน ท. ทราบแล้วซึ่งความเป็นไปทั่ว แห่งพระผู้เป็นเจ้า ของเรา พึงส่งไป ซึ่งข่าวสาส์น แก่เรา ดังนี้ ฯ อ. อันเตวาสิกชื่อว่ากัปปกะ  ฟังแล้ว ซึ่งการมา แห่งอาจารย์ กระทำแล้ว ซึ่งการต้อนรับ, (ครั้นเมื่อคำ) ว่า (อ. ดาบส ท.) เหล่านอกนี้ (ย่อมอยู่) ในที่ใหน ดังนี้ (อันพระดาบส)  กล่าวแล้ว, กล่าวแล้ว ว่า ได้ยินว่า (อ. ดาบส ท. เหล่านั้น) ย่อมอยู่ ในที่โน้น ดังนี้ ฯ อ. ดาบส ท. แม้เหล่านั้น ฟังแล้ว ซึ่งความที่แห่งอาจารย์เป็นผู้มาแล้ว ประชุมกันแล้ว ในที่นั้นนั่นเทียว ถวายแล้ว ซึ่งน้ำอันร้อน ได้ถวายแล้วซึ่งผลและผลอันเจริญ แก่อาจารย์ ฯ อ. โรค เข้าไปสงบวิเศษแล้ว ในขณะนั้นนั่นเทียว ฯ อ. พระดาบสนั้น เป็นผู้มีวรรณะเพียงดังวรรณะแห่งทอง ได้เป็นแล้ว โดยวันเล็กน้อยนั่นเทียว ฯ ครั้งนั้น อ. อำมาตย์ชื่อว่านารทะ ถามแล้ว ซึ่งพระดาบสนั้น ว่า

            ข้าแต่ท่านเกสี ผู้มีโชค (อ. ท่าน) ละแล้ว (ซึ่งพระราชา) ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์  ผู้ยังสมบัติอันบุคคลพึงใคร่ทั้งปวงให้สำเร็จ ยินดีอยู่ ในอาศรมของดาบสชื่อว่ากัปปกะ อย่างไรหนอ ดังนี้ ฯ (อ. พระดาบสชื่อว่าเกสวะกล่าวแล้ว) ว่า (อ. คำ ท.) อันไพเราะ อันบุคคลพึงยินดี (มีอยู่), อ. ต้นไม้ ท. อันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ มีอยู่, ดูก่อนนารทะ (อ. คำ ท.) อันกัปปกะกล่าวดีแล้ว ยังเรา ย่อมให้ยินดีได้ ดังนี้ ฯ  (อ. อำมาตย์ชื่อว่านารทะ ถามแล้ว) ว่า (อ. ท่านใด) บริโภคแล้ว[1]  ซึ่งข้าวสุก แห่งข้าวสาลี ท. อันเข้าไปเจือด้วยเนื้ออันสะอาด อ. ข้าวฟ่างและลูกเดือย ท. อันหารสเค็มมิได้ (ยังท่าน) นั้น ย่อมให้ยินดีได้ อย่างไร ดังนี้ ฯ (อ. พระดาบสชื่อว่าเกสวะกล่าวแล้ว) ว่า (อ. บุคคล) ผู้คุ้นเคยกันแล้ว พึงบริโภค (ซึ่งโภชนะ) อันไม่อร่อยหรือ หรือว่าอันอร่อย อันน้อยหรือ หรือว่าอันมาก (ในนิเวศน์) ใด (อ. โภชนะ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลบริโภคแล้ว ในนิเวศน์นั้นเป็นของยังประโยชน์ให้สำเร็จ ย่อมเป็น เพราะว่า) อ. รส ท. มีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ (ดังนี้) ฯ

            อ. พระศาสดา  ครั้นทรงนำมาแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนา นี้ เมื่อทรงยังชาดกให้ตั้งลงพร้อมตรัสแล้ว ว่า อ. พระราชา ในกาลนั้น เป็นโมคคัลลานะ ได้เป็นแล้ว (ในกาลนี้), อ. อำมาตย์ชื่อว่านารทะ (ในกาลนั้น) เป็นสารีบุตร (ได้เป็นแล้ว ในกาลนี้), อ. อันเตวาสิกชื่อว่ากัปปกะ (ในกาลนั้น) เป็นอานนท์ (ได้เป็นแล้ว ในกาลนี้), อ. ดาบสชื่อว่าเกสวะ (ในกาลนนั้น) เป็นเรานั่นเทียว (ได้เป็นแล้ว ในกาลนี้) ดังนี้ ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ. บัณฑิต ท. ในกาลก่อน ถึงแล้วซึ่งเวทนา มีความตายเป็นที่สุด ได้ไปแล้ว สู่ที่มีความคุ้นเคย อย่างนี้, อ. สาวก ท. ของอาตมภาพเห็นจะจะไม่ได้ ซึ่งความคุ้นเคย ในสำนัก ของพระองค์ ท. ดังนี้ ฯ อ. พระราชา (ทรงดำริแล้ว) ว่า อ. อันอันเรากระทำซึ่งความคุ้นเคย กับ ด้วยหมู่แห่งภิกษุ ย่อมควร, (อ. เรา) จักกระทำอย่างไร หนอ แล ดังนี้, ทรงดำริแล้ว ว่า อ. อัน (อันเรา) กระทำ ซึ่งพระธิดาแห่งพระญาติ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรือน ย่อมควร, ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น มีอยู่, อ. ภิกษุหนุ่ม ท. ด้วย อ. สามเณร ท. ด้วย ผู้คุ้นเคยกันแล้ว จักมา สู่สำนัก ของเรา เนืองนิตย์ (ด้วยความคิด) ว่า อ. พระราชา เป็นพระญาติ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ย่อมเป็น) ดังนี้ ดังนี้ ทรงส่งไปแล้วซึ่งข่าวสาส์น สู่สำนัก ของเจ้าศากยะ ท. (มีอันให้รู้) ว่า (อ. เจ้าศากยะ ท.) ขอจงประทาน ซึ่งพระธิดา องค์หนึ่ง แก่หม่อมฉัน ดังนี้ (เป็นเหตุ), ตรัสแล้ว ว่า อ. ท่าน ท. ถามแล้ว ว่า อ. พระธิดาของเจ้าศากยะองค์ไหน ดังนี้ พึงมา ดังนี้ ทรงยังทูต ท. ให้รู้ทั่วแล้ว ฯ อ. ทูต ท. ไปแล้ว ทูลขอแล้วซึ่งเจ้าหญิง กะเจ้าศากยะ ท. ฯ อ. เจ้าศากยะ ท. เหล่านั้น ทรงประชุมกันแล้ว ทรงดำริกันแล้ว ว่า อ. พระราชา มีในฝักฝ่ายอื่น;  ถ้าว่า อ. เรา ท. จักไม่ถวายไซร้, (อ. พระราชา) ทรงยังเรา ท. จักให้ฉิบหาย ; ก็ (อ. พระราชา) เป็นเช่นกับ ด้วยเรา ท. โดยตระกูล (ย่อมเป็น) หามิได้แล;  (อ. กรรม) อะไรหนอแล (อันเรา ท.) พึงกระทำ  ดังนี้ ฯ อ. เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามตรัสแล้ว ว่า อ. ธิดา ชื่อว่าวาสภขัตติยา ผู้เกิดแล้ว ในท้อง ของนางทาสี ของเรา ผู้ถึงแล้วซึ่งส่วนแห่งความงามแห่งรูป มีอยู่, อ. เรา ท. จักถวาย ซึ่งธิดานั้น ดังนี้ ตรัสแล้ว กะทูต ท. ว่า อ. ดีละ อ. เรา ท. จักถวาย ซึ่งเจ้าหญิง แก่พระราชา ดังนี้ ฯ (อ. ทูต ท. ทูลถามแล้ว) ว่า อ. พระธิดา (ของเจ้าศากยะ) องค์ไหน ดังนี้ ฯ (อ. เจ้าศากยะ ท. ตรัสแล้ว) ว่า อ. พระธิดา ของเจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม ผู้เป็นโอรส ของพระเจ้าอา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวาสภขัตติยาดังนี้ ฯ อ. ทูต ท. เหล่านั้น ไปแล้ว กราบทูลแล้ว แก่ พระราชา ฯ อ. พระราชา (ตรัสแล้ว) ว่า ผิว่า ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น (มีอยู่) อ. ดีละ, อ. ท่าน ท. จงนำมา พลัน ; ก็ ชื่อ อ. กษัตริย์ ท. เป็นผู้มีมายามาก (เป็น) พึงส่งไป แม้ซึ่งธิดาของนางทาสี, อ. ท่าน ท. พึงนำมา (ซึ่งพระธิดา) ผู้เสวยอยู่ ในภาชนะเดียวกัน กับ ด้วยพระบิดา ดังนี้ ฯ อ.  ทูต  ท. เหล่านั้น ไปแล้ว กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. พระราชา ย่อมทรงปรารถนา (ซึ่งพระธิดา) ผู้เสวยอยู่ โดยความเป็นอันเดียวกัน กับ ด้วยพระองค์ ท.  ดังนี้ ฯ อ. เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม (ตรัสแล้ว) ว่า แน่ะพ่อ ท. อ. ดีละ ดังนี้ (ทรงยังบุคคล) ให้กระทำให้พอแล้ว ซึ่งพระธิดานั้น (ทรงยังบุคคล) ให้ร้องเรียกแล้ว ซึ่งพระธิดานั้น ในกาลเป็นที่เสวย แห่งพระองค์ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งอาการคือการเสวย  โดยความเป็นอันเดียวกัน กับ ด้วยพระธิดานั้น ทรงมอบให้แล้ว แก่ทูต ท. อ. ทูต ท. เหล่านั้น พาเอา ซึ่งพระธิดานั้น  ไปแล้ว  สู่เมืองชื่อว่าสาวัตถี กราบทูลแล้ว ซึ่งความเป็นไปทั่ว นั้น แก่พระราชา ฯ อ. พระราชา ผู้มีพระทัยยินดีแล้ว ทรงกระทำแล้ว ซึ่งพระธิดานั้นให้เป็นผู้เจริญที่สุด แห่งร้อยแห่งหญิง ท. ๕ ทรงอภิเษกแล้ว  ในตำแหน่งแห่งพระอัครมเหสี ฯ อ. พระนางวาสภขัตติยานั้น  ประสูติแล้ว ซึ่งพระโอรส ผู้มีวรรณะเพียงดังวรรณะแห่งทอง ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว ฯ ครั้งนั้น ในวันเป็นที่ถือเอาซึ่งพระนาม ของพระโอรสนั้น อ. พระราชาทรงส่งไปแล้ว (ซึ่งข่าวสาส์น) สู่สำนัก ของพระอัยยิกา (มีอันให้รู้) ว่า อ. พระนางวาสภขัตติยาผู้เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะ ประสูติแล้ว ซึ่งพระโอรส, (อ. เจ้าศากยะ ท.) ขอจงทรงกระทำซึ่งพระนาม ของพระโอรสนั้น อย่างไร ดังนี้ (เป็นเหตุ) ฯ ส่วนว่า อ. อำมาตย์ ผู้รับซึ่งข่าวสาส์นนั้นไปแล้ว เป็นผู้มีธาตุแห่งคนหนวก หน่อยหนึ่ง (ย่อมเป็น) ฯ อ. อำมาตย์นั้น ไปแล้ว กราบทูลแล้วแก่พระอัยยิกา ของพระราชา ฯ อ. พระอัยยิกานั้น ทรงสดับแล้ว ซึ่งความเป็นไปทั่ว นั้น ตรัสแล้วว่า อ. พระนางวาสภขัตติยา แม้ไม่ประสูติแล้ว ซึ่งพระโอรส ทรงครอบงำแล้ว ซึ่งทรัพย์ ทั้งปวง, ก็ ในกาลนี้ (อ. พระนางวาสภขัตติยา) เป็นผู้คุ้นเคย เกินเปรียบ ของพระราชา จักเป็น ดังนี้ ฯ อ. อำมาตย์ผู้หนวก ฟังแล้ว ซึ่งคำ ว่า วัลลภา ดังนี้ ฟังแล้วชั่ว กำหนดแล้ว ว่า วิฑูฑภะ ดังนี้ เข้าไปเฝ้าแล้วซึ่งพระราชา กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. พระองค์ ท. ขอจงทรงกระทำ (ซึ่งคำ) ว่า วิฑูฑภะ ดังนี้ ให้เป็นพระนาม ของพระกุมารเถิด ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ทรงดำริแล้วว่า (อ. คำนี้) เป็นชื่อ อันเป็นของมีอยู่แห่งตระกูล ของเรา ท. อันมีในก่อน จักเป็น ดังนี้ ได้ทรงกระทำแล้ว (ซึ่งคำ) ว่า วิฑูฑภะ ดังนี้ ให้เป็นพระนาม (ของพระกุมารนั้น) ฯ ครั้งนั้น อ. พระราชา ได้พระราชทานแล้ว ซึ่งตำแหน่งแห่งเสนาบดี แก่พระกุมารนั้น ในกาลแห่งพระกุมารนั้นทรงพระเยาว์นั่นเทียว (ด้วยทรงดำริ) ว่า อ. เรา จะกระทำ ให้เป็นผู้เป็นที่รัก ของพระศาสดา ดังนี้ ฯ อ. พระกุมารนั้น ทรงเติบโตอยู่ ด้วยวัตถุเป็นเครื่องบริหารแห่งกุมาร ทรงเห็นแล้ว (ซึ่งรูป ท.) มีรูปแห่งช้างและรูปแห่งม้าเป็นต้น อันบุคคลนำมาอยู่ จากตระกูลแห่งยาย เพื่อกุมาร ท. เหล่าอื่นในกาลแห่งพระองค์มีกาลฝนเจ็ด ตรัสถามแล้ว ซึ่งพระมารดา ว่า ข้าแต่เสด็จแม่ อ. เครื่องบรรณาการ (อันบุคคล) นำมาอยู่ จากตระกูลแห่งยาย เพื่อกุมาร ท. เหล่าอื่น, อ. ใคร ๆ ย่อมไม่ส่งไป ซึ่งวัตถุอะไร ๆ แก่หม่อมฉัน ; อ. พระองค์ เป็นผู้ไม่มีมารดาและบิดา (ย่อมเป็น) หรือดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ. พระนางวาสภขัตติยานั้น ทรงลวงแล้ว ซึ่งพระกุมารนั้น ว่า แน่ะพ่อ อ. เจ้าศากยะ ท. เป็นยาย ของเจ้า (ย่อมเป็น), แต่ว่า (อ. เจ้าศากยะ ท. เหล่านั้น) ย่อมอยู่ ในที่ไกล, เพราะเหตุนั้น อ.เจ้าศากยะ ท. เหล่านั้น ย่อมไม่ส่งไป ซึ่งวัตถุอะไร ๆ แก่เจ้า ดังนี้ ฯ (อ. พระกุมาร) ทูลแล้วว่า ข้าแต่เสด็จแม่ อ. หม่อมฉัน เป็นผู้ใคร่เพื่ออันเห็น ซึ่งตระกูลแห่งยาย ย่อมเป็น ดังนี้ ในกาลแห่งพระองค์มีกาลฝนสิบหก อีก แม้ผู้อันพระมารดาทรงห้ามอยู่ ว่า แน่ะพ่อ อ. อย่าเลย, (อ. เจ้า) ไปแล้ว ในที่นั้น จักกระทำ อย่างไร ดังนี้ ทูลวิงวอนแล้ว บ่อย ๆ ฯ ครั้งนั้น อ. พระมารดาของพระกุมารนั้น ทรงรับพร้อมแล้ว ว่า ถ้าอย่างนั้น อ. เจ้า จงไปเถิด ดังนี้ ฯ อ. พระกุมารนั้นกราบทูลแล้ว แก่พระบิดา เสด็จออกไปแล้ว ด้วยบริวาร หมู่ใหญ่ ฯ อ. พระนางวาสภขัตติยา ทรงส่งไปแล้ว ซึ่งหนังสือ ก่อนกว่านั้นเทียว (มีอันให้รู้) ว่า อ. หม่อมฉัน ย่อมอยู่ ในที่นี้ สบาย, (อ. พระญาติ ท.) อย่าทรงแสดงแล้ว ซึ่งโทษ ของพระสวามี อะไร ๆ แก่พระกุมารนั้น ดังนี้ (เป็นเหตุ) ฯ อ. เจ้าศากยะ ท. ทรงทราบแล้ว ซึ่งการเสด็จมา แห่งพระกุมารพระนามว่าวิฑูฑภะ (ทรงปรึกษากันแล้ว) ว่า (อันเรา ท.) ไม่อาจ เพื่ออันไหว้ ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว ซึ่งพระกุมาร ท. ผู้ทรงพระเยาว์และทรงพระเยาว์ กว่าพระกุมารนั้น สู่ชนบท, ครั้นเมื่อพระกุมารนั้น เสด็จถึงพร้อมแล้ว ซึ่งเมืองชื่อว่ากบิลพัสดุ์, ทรงประชุมกันแล้ว ในท้องพระโรง ฯ อ. พระกุมาร เสด็จไปแล้ว ได้ประทับยืนแล้ว ในท้องพระโรงนั้น ฯ ครั้งนั้น (อ. เจ้าศากยะ ท.) ตรัสแล้ว กะพระกุมารนั้น ว่า แน่ะพ่อ อ. เจ้าศากยะนี้ เป็นพระเจ้าตา ของเจ้า (ย่อมเป็น), อ. เจ้าศากยะนี้ เป็นพระเจ้าลุง (ของเจ้า) (ย่อมเป็น) ดังนี้ ฯ อ. พระกุมารนั้น เสด็จเที่ยวถวายบังคมอยู่แล้ว (ซึ่งเจ้าศากยะ ท.) ทั้งปวง ไม่ทรงเห็นแล้ว (ซึ่งเจ้าศากยะ) แม้พระองค์เดียว ผู้ทรงไหว้อยู่ ซึ่งพระองค์ ทูลถามแล้ว ว่า (อ. เจ้าศากยะ ท.) ผู้ไหว้อยู่ ซึ่งหม่อมฉัน ย่อมไม่มี หรือหนอแล ดังนี้ ฯ อ. เจ้าศากยะ ท. ตรัสแล้วว่า แน่ะพ่อ อ. กุมารผู้น้อยที่สุด ท. ของเจ้า ไปแล้ว สู่ชนบท ดังนี้ ทรงกระทำแล้ว ซึ่งสักการะอันใหญ่ แก่พระกุมารนั้น ฯ อ. พระกุมารนั้น ประทับอยู่แล้ว สิ้นวันเล็กน้อย เสด็จออกแล้ว จากพระนคร ด้วยบริวาร หมู่ใหญ่ ฯ ครั้งนั้น อ. นางทาสี คนหนึ่ง ด่าแล้ว ด่าแล้ว ว่า อ.แผ่นกระดานนี้ เป็นแผ่นกระดาน แห่งบุตร ของนางทาสี ชื่อว่าวาสภขัตติยา นั่งแล้ว (ย่อมเป็น) ดังนี้ ย่อมล้าง ซึ่งแผ่นกระดานแห่งพระกุมารนั้น นั่งแล้ว ในท้องพระโรง ด้วยน้ำอันเจือด้วยน้ำนม ฯ อ. บุรุษ คนหนึ่ง ลืมทั่วแล้ว ซึ่งอาวุธ ของตน กลับแล้ว ถือเอาอยู่ ซึ่งอาวุธนั้น ฟังแล้วซึ่งเสียงแห่งการด่า ซึ่งพระกุมารพระนามว่าวิฑูฑภะ ถามแล้ว ซึ่งโทษ นั้น รู้แล้ว ว่า อ. พระนางวาสภขัตติยา เกิดแล้ว ในท้อง ของนางทาสี ของเจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม ดังนี้ บอกแล้วแก่หมู่แห่งพล ฯ อ. ความโกลาหลใหญ่ ว่า ได้ยินว่า อ. พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของนางทาสี (ย่อมเป็น) ดังนี้ ได้มีแล้ว ฯ อ. พระกุมารพระนามว่าวิฑูฑภะ ทรงสดับแล้ว ซึ่งคำนั้นทรงตั้งไว้แล้ว ซึ่งพระทัย ว่า อ.เจ้าศากยะ ท. เหล่านั้น จงล้าง ซึ่งแผ่นกระดานแห่งเรานั่งแล้วด้วยน้ำอันเจือด้วยน้ำนม ก่อน, แต่ว่า อ. เรา ถือเอาแล้ว ซึ่งเลือดในลำคอ ของเจ้าศากยะ ท. เหล่านั้น จักล้าง ซึ่งแผ่นกระดานแห่งเรานั่งแล้ว ในกาลแห่งเราตั้งอยู่เฉพาะแล้ว ในความเป็นแห่งพระราชา ดังนี้ ฯ ครั้นเมื่อพระกุมารนั้น เสด็จถึงแล้ว ซึ่งเมืองชื่อว่าสาวัตถี, อ. อำมาตย์ ท.  กราบทูลแล้ว ซึ่งความเป็นไปทั่ว ทั้งปวง แก่พระราชา ฯ อ. พระราชา กริ้วแล้ว ต่อเจ้าศากยะ ท. ว่า (อ. เจ้าศากยะ ท.) ได้ให้แล้ว ซึ่งธิดาของนางทาสี แก่เรา ดังนี้ ทรงริบแล้ว ซึ่งวัตถุเป็นเครื่องบริหารอันพระองค์พระราชทานแล้ว แก่พระนางวาสภขัตติยาด้วย แก่พระโอรสด้วย (ทรงยังบุคคล) ให้พระราชทานแล้ว (ซึ่งวัตถุ) สักว่าอันทาสและทาสี ท. พึงได้นั่นเทียว ฯ อ. พระศาสดา เสด็จไปแล้ว สู่พระราชนิเวศน์ ประทับนั่งแล้ว โดยอันล่วงไปแห่งวันเล็กน้อย แต่วันนั้น ฯ อ. พระราชาเสด็จมาแล้ว ถวายบังคมแล้ว กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า อ. ธิดาของนางทาสีอันพระญาติ ท. ของพระองค์ ท. ประทานแล้ว แก่หม่อมฉัน เพราะเหตุนั้น อ. หม่อมฉัน ริบแล้วซึ่งวัตถุเป็นเครื่องบริหาร (ของพระนางวาสภขัตติยา) นั้น ผู้เป็นไปกับด้วยบุตร (ยังบุคคล) ให้ให้แล้ว (ซึ่งวัตถุ) สักว่าอันทาสและทาสี ท. พึงได้นั่นเทียว ดังนี้ ฯ อ. พระศาสดา (ตรัสแล้ว) ว่า ดูก่อนมหาบพิตร (อ. กรรม) อันไม่สมควรแล้ว อันเจ้าศากยะ ท. ทรงกระทำแล้ว,  (อ. พระธิดา) ผู้มีพระชาติเสมอกัน เป็นผู้ (อันเจ้าศากยะ ท.) ชื่อผู้เมื่อประทาน พึงประทาน พึงเป็น ; ก็ (อ. อาตมภาพ) จะขอทูล กะพระองค์: ว่า อ. พระนางวาสภขัตติยา เป็นพระธิดาของพระราชาผู้กษัตริย์ (เป็น) ทรงได้แล้ว ซึ่งการอภิเษก ในตำหนัก ของพระราชาผู้กษัตริย์, แม้ อ. พระกุมารพระนามว่าวิฑูฑภะ  ทรงอาศัยแล้ว ซึ่งพระราชาผู้กษัตริย์นั่นเทียว ประสูติแล้ว ; ชื่อ อ. โคตรของมารดาจักกระทำ ซึ่งอะไรได้, อ. โคตรของบิดานั่นเทียว เป็นประมาณ (ย่อมเป็น) ดังนี้ (ดังนี้), (ตรัสแล้ว) ว่า อ. บัณฑิตผู้มีในก่อน ท. ได้พระราชทานแล้ว ซึ่งตำแหน่งแห่งพระอัครมเหสี แก่หญิงผู้ขัดสนผู้นำไปซึ่งฟืน, อนึ่ง อ. พระกุมารผู้ประสูติแล้ว ในท้อง (ของหญิงผู้ขัดสน) นั้น ทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นแห่งพระราชา ในเมืองชื่อว่าพาราณสี อันประกอบแล้วด้วยโยชน์สิบสอง เป็นผู้ชื่อว่ากัฏฐวาหนราชา เกิดแล้ว ดังนี้ ตรัสแล้ว ซึ่งกัฏฐหาริยชาดก ฯ อ. พระราชา ทรงสดับแล้วซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งธรรม ทรงยินดีแล้ว ว่า ได้ยินว่า อ. โคตรของบิดานั่นเทียว เป็นประมาณ (ย่อมเป็น) ดังนี้ (ทรงยังบุคคล) ให้พระราชทานแล้ว ซึ่งวัตถุเป็นเครื่องบริหารตามปกติ แก่พระมารดาและพระโอรส ท. นั่นเทียว

            อ. ภรรยา ชื่อว่ามัลลิกา ผู้เป็นพระธิดาของเจ้ามัลละ ในเมืองชื่อว่ากุสินารา แม้ของเสนาบดีชื่อพันธุละ แล ไม่คลอดแล้ว สิ้นกาลนาน ฯ ครั้งนั้น อ. เสนาบดีชื่อว่าพันธุละ ส่งไปแล้วซึ่งภรรยานั้น (ด้วยคำ) ว่า อ. เธอ จงไป สู่เรือนแห่งตระกูล ของตนนั่นเทียว ดังนี้ ฯ อ. นางมัลลิกานั้น (คิดแล้ว) ว่า อ. เรา เฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดาเทียว จักไป ดังนี้ เข้าไปแล้ว สู่พระเชตวัน ยืนถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระตถาคตเจ้า ผู้ (อันพระตถาคตเจ้า) ตรัสแล้ว ว่า อ. เธอ จะไป ในที่ไหนดังนี้ กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. สามี ย่อมส่งไป ซึ่งหม่อมฉัน สู่เรือนแห่งตระกูลดังนี้ ฯ (อ. พระศาสดา ตรัสถามแล้ว) ว่า (อ. สามี ย่อมส่งไป ซึ่งเธอ สู่เรือนแห่งตระกูล) เพราะเหตุอะไร ดังนี้ ฯ (อ. นางมัลลิกา กราบทูลแล้ว) ว่า  ได้ยินว่า (อ. หม่อมฉัน) เป็นหญิงหมันเป็นหญิงไม่มีบุตร ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ (อ. พระศาสดา ตรัสแล้ว) ว่า ผิว่า ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น (มีอยู่), อ. กิจคือการไป ย่อมไม่มี, อ. เธอ จงกลับเถิด ดังนี้ ฯ อ. นางมัลลิกานั้น เป็นผู้มีใจยินดีแล้วเป็น ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดา ไปแล้ว สู่นิเวศน์, (ครั้นเมื่อคำ) ว่า อ. เธอ เป็นผู้กลับแล้วย่อมเป็น เพราะเหตุอะไร ดังนี้ (อันเสนาบดีชื่อว่าพันธุละ) กล่าวแล้ว, กล่าวแล้ว ว่า อ. ดิฉันเป็นผู้อันพระทศพลให้กลับแล้ว ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. เสนาบดีชื่อว่าพันธุละ รับพร้อมแล้ว (ด้วยความคิด) ว่า อ. เหตุ เป็นเหตุ (อันพระทศพล) ผู้ทรงเห็นซึ่งกาลนานโดยปกติทรงเห็นแล้วจักเป็น ดังนี้ ฯ อ. นางมัลลิกานั้น ได้เฉพาะแล้ว ซึ่งครรภ์ ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว ผู้มีความแพ้ท้องเกิดขึ้นแล้ว บอกแล้ว ว่า อ. ความแพ้ท้อง เกิดขึ้นแล้ว แก่ดิฉัน ดังนี้ ฯ (อ. เสนาบดีชื่อว่าพันธุละ) (ถามแล้ว) ว่า อ. ความแพ้ท้อง อะไร ? ดังนี้ ฯ (อ. นางมัลลิกา กล่าวแล้ว) ว่า ข้าแต่นาย (อ. ดิฉัน) เป็นผู้ใคร่เพื่ออันข้ามลงแล้ว ในสระโบกขรณีอันเป็นมงคลอันเป็นที่อภิเษก แห่งตระกูลแห่งพระราชาผู้เป็นคณะ ท. ในเมืองชื่อว่าเวสาลี อาบแล้ว ดื่ม ซึ่งน้ำอันบุคคลพึงดื่ม ย่อมเป็นดังนี้ ฯ อ. เสนาบดีชื่อว่าพันธุละ กล่าวแล้ว ว่า อ. ดีละ ดังนี้ ถือเอาแล้ว ซึ่งธนูอันบุคคลพึงโก่งด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษพันหนึ่ง ยกขึ้นแล้ว (ซึ่งภรรยา) นั้น สู่รถ ออกไปแล้ว จากเมืองชื่อว่าสาวัตถีขับไปอยู่ ซึ่งรถ ได้เข้าไปแล้ว สู่เมืองชื่อว่าเวสาลี โดยประตู (อันเจ้าลิจฉวี ท.) ถวายแล้ว แก่เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ ฯ ก็ อ. นิเวศน์ ของเจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ ย่อมมี ในที่ใกล้แห่งประตูนั่นเทียว ฯ (อ. เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ) นั้น ทรงสดับแล้ว ซึ่งเสียงแห่งรถกระทบแล้วที่ธรณีเทียว ทรงทราบแล้ว ว่า อ. เสียงแห่งรถ ของเสนาบดีชื่อว่าพันธุละ ดังนี้ ตรัสแล้ว ว่าในวันนี้ อ. ภัย จักเกิดขึ้น แก่เจ้าลิจฉวี ท. ดังนี้ ฯ อ. การอารักขา ในภายในด้วย ในภายนอกด้วย แห่งสระโบกขรณี เป็นสภาพมีกำลัง (ย่อมเป็น), อ. ข่ายอันเป็นวิการแห่งโลหะ (อันบุคคล) ขึงแล้ว ในเบื้องบน, อ. โอกาส ย่อมไม่มี แม้แก่นก ท. ฯ ส่วนว่า อ. เสนาบดีชื่อว่าพันธุละข้ามลงแล้ว จากรถ โบยอยู่ ซึ่งมนุษย์ ท. ผู้อารักขา ด้วยหวาย (ยังมนุษย์ ท. เหล่านั้น) ให้หนีไปแล้วตัดแล้ว ซึ่งข่ายอันเป็นวิการแห่งโลหะ ยังภรรยา ให้อาบแล้ว  ในภายในแห่งสระโบกขรณี อาบแล้วแม้เอง ยกขึ้นแล้ว (ซึ่งภรรยา) นั้น สู่รถ อีก ออกไปแล้ว จากพระนคร ได้ออกไปแล้ว ตามหนทางแห่ง ตนมาแล้วนั่นเทียว ฯ (อ. มนุษย์ ท.) ผู้อารักขา กราบทูลแล้ว แก่เจ้าลิจฉวี ท. ฯ อ. เจ้าลิจฉวี ท. กริ้วแล้ว เสด็จขึ้นแล้ว สู่ร้อยแห่งรถ ท. ห้า เสด็จออกไปแล้ว (ด้วยทรงดำริ) ว่า อ. เรา ท. จักจับซึ่งเจ้ามัลละชื่อว่าพันธุละ ดังนี้ ฯ (อ. เจ้าลิจฉวี ท. เหล่านั้น) ทรงแจ้งแล้ว ซึ่งความเป็นไปทั่วนั้น แก่เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ ฯ อ. เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ ตรัสแล้ว ว่า อ. ท่าน ท. อย่าไปแล้ว, เพราะว่า อ. เจ้าพันธุละนั้น จักฆ่า ซึ่งท่าน ท. ทั้งปวง ดังนี้ ฯ อ. เจ้าลิจฉวี ท. แม้เหล่านั้น ตรัสแล้ว ว่า อ. เรา ท. จักไป นั่นเทียว ดังนี้ ฯ (อ. เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ) ตรัสแล้วว่า

 



[1] อรรถกถาเกสวชาดก  แก้บทว่า ภุตฺวา เป็น ภุญฺชิ และขึ้น โย ตฺวํ เป็นประธาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น