๑๐.
เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ [๔๒]
[ข้อความเบื้องต้น]
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
ทรงปรารภการถวายบิณบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่าอปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ เป็นต้น.
[นางอัปสรอยากทำบุญแต่ไม่สมหวัง]
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระออกจากนิโรธสมบัติ
โดยล่วงไป ๗ วัน ออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า จักเที่ยวบิณฑบาต ตามลำดับตรอก
ในกรุงราชคฤห์. ในสมัยนั้น นางอัปสรประมาณ ๕๐๐นาง มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบ
เป็นบริจาริกา ของท้าวสักกเทวราชเกิดความอุตสาหะว่า จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ
จึงตระเตรียมบิณฑบาต ๕๐๐ ที่แล้วถือมายืนอยู่ในระหว่างทางกล่าวว่านิมนต์รับบิณฑบาตนี้
เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์แก่พวกดิฉันเถิด.
พระเถระ. พวกเจ้าจงไปเสียเถิด, ฉันจักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ. นางอัปสร.
ขอท่านอย่าให้พวกดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด. พระเถระรู้แล้ว
จึงห้ามเสียอีกแล้วดีดนิ้ว (บอก) นางอัปสรทั้งหลาย
ผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไปยังอ้อนวอนอยู่ว่า พวกเจ้าไม่รู้จักประมาณตัว, จงหลีกไป. นางอัปสรเหล่านั้น ฟังเสียงนิ้ว
มือของพระเถระแล้ว ไม่อาจเพื่อจะยืนขัดแข็งอยู่ได้ จึงหนีไปยัง เทวโลกตามเดิม
อันท้าวสักกะตรัสถามว่า พวกหล่อนไปไหนกันมาจึงทูลว่า หม่อมฉันพากันไปด้วยหมายว่า
จักถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ผู้ออกจากสมาบัติ พระเจ้าข้า. สักกะ. ก็พวกหล่อน
ถวายแล้วหรือ ? นางอัปสร. พระเถระไม่ปรารถนาจะรับ. สักกะ. พระเถระพูดอย่างไร ?
นางอัปสร. ท่านพูดว่า จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจพระเจ้าข้า. สักกะ. พวกหล่อน
ไปกันด้วยอาการอย่างไร ? นางอัปสร. ไปด้วยอาการนี้แล พระเจ้าข้า.
[ท้าวสักกะแปลงตัวทำบุญแก่พระเถระ]
ท้าวสักกะตรัสว่า หญิงเช่นพวกหล่อน
จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระได้อย่างไร ? ประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลงเป็นคนแก่คร่ำคร่าด้วยอำนาจชรา
มีฟันหัก มีผมหงอก หลังโกงเป็นช่างหูกผู้เฒ่า ทรงทำแม้นางสุชาดาผู้เทพธิดา
ให้เป็นหญิงแก่เหมือนอย่างนั้นนั่นแลแล้วทรงนิรมิตถนนช่างหูกขึ้นสายหนึ่งประทับขึงหูกอยู่.
ฝ่ายพระเถระ เดินบ่ายหน้าเข้าเมือง ด้วยหวังว่า จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ
เห็นถนนสายนั้น นอกเมืองนั้นแล แลดูอยู่ ก็ได้เห็นคน ๒ คน. ในขณะนั้น ท้าวสักกะ
กำลังขึงหูก, นางสุชาดากรอหลอด. พระเถระคิดว่า ๒ คนนี้ แม้ในเวลาแก่ ก็ยังทำงาน,
ในเมืองนี้ ผู้ที่จะเข็ญใจกว่า ๒ คนนี้ เห็นจะไม่มี, เราจักรับภัตแม้ประมาณกระบวย
๑ ที่ ๒ คนนี้ถวายแล้ว ทำความสงเคราะห์แก่คน ๒ คนนี้.
พระเถระได้บ่ายหน้าไปตรงเรือนของตน๒ คนนั้นแล. ท้าวสักกะ
ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั้นมาอยู่ จึงตรัสกะนางสุชาดาว่า หล่อน
พระผู้เป็นเจ้าของเรา เดินมาทางนี้, เธอจงนั่งทำเป็นเหมือนไม่เห็นท่านเสีย,
ฉันจักลวงท่านสักครู่หนึ่งแล้วจึงถวายบิณฑบาต.
พระเถระได้มายืนอยู่ที่ประตูเรือนแล้ว. แม้ ๒ผัวเมียนั้น ก็ทำเป็นเหมือนไม่เห็น
ทำแต่การงานของตนฝ่ายเดียวคอยอยู่หน่อยหนึ่งแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า ที่ประตูเรือนดูเหมือน (มี)
พระเถระยืนอยู่รูปหนึ่ง, เธอจงไปตรวจดูก่อน. นางสุขาดา ตอบว่า ท่านจงไปตรวจดูเถอะ
นาง. ท้าวเธอเสด็จออกจากเรือนแล้ว, ทรงไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว,
เอาพระหัตถ์ทั้ง ๒ เท้าพระชานะแล้ว ถอนใจ เสด็จลุกขึ้น,
ย่อพระองค์ลงหน่อยหนึ่งตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอแล
?แล้วตรัสว่า ตาของผมฝ้าฟาง ดังนี้แล้ว, ทรงวางพระหัตถ์ไว้เหนือพระนลาฏ (ป้องหน้า)
ทรงแหงนดูแล้ว,ตรัสว่า โอ ตายจริง !, พระผู้เป็นเจ้าพระมหากัสสปเถระของเรา นาน ๆ
จึงมายังประตูกระท่อมของเรา, มีอะไรอยู่ในเรือนบ้างไหม ? นางสุชาดา
ทำเป็นกุลีกุจออยู่หน่อยหนึ่งแล้ว ได้ให้คำตอบว่า มี นาย ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านเจ้าข้า
พระคุณเจ้า อย่าคิดเลยว่า ทาน เศร้าหมอง หรือประณีต
โปรดทำความสงเคราะห์แก่กระผมทั้ง ๒เถิด ดังนี้แล้ว ก็ทรงรับบาตรไว้. พระเถระคิดว่า
ทานที่ ๒ผัวเมียนั่นถวายแล้ว จะเป็นน้ำผักดองหรือรำกำมือหนึ่งก็ตามที,
เราจักทำความสงเคราะห์แก่ ๒ ผัวเมียนั้น ดังนี้แล้ว จึงได้ให้บาตรไป.
ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปภายในเรือนแล้ว ทรงคดข้าวสุกออกจากหม้อ ใส่เต็มบาตรแล้ว
มอบถวายในมือพระเถระ. บิณฑบาตนั้นได้มีสูปพยัญชนะมากมาย
ได้หอมตลบทั่วกรุงราชคฤห์แล้ว.
[ท้าวสักกะตรัสบอกความจริงแก่พระเถระ]
ในกาลนั้น พระเถระคิดว่า ชายนี้
มีศักดิ์น้อย, บิณฑบาตมีศักดิ์มาก เช่นกับโภชนะของท้าวสักกะ, นั่น ใครหนอ?
ครั้งนั้น พระเถระทราบชายนั้นว่า ท้าวสักกะ จึงกล่าวว่า
พระองค์ทรงแย่งสมบัติของคนเข็ญใจ (จัดว่า) ทำกรรมหนักแล้ว, ใคร ๆ ก็ตาม
ที่เป็นคนเข็ญใจ ถวายทานแก่อาตมภาพในวันนี้ พึงได้ตำแหน่งเสนาบดี หรือตำแหน่งเศรษฐี.
สักกะ. ผู้ที่เข็ญใจไปกว่ากระผม ไม่มีเลย ขอรับ.
พระเถระ. พระองค์เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะจัดว่าเป็นคนเข็ญใจ
เพราะเหตุไร ? สักกะ. อย่างที่พระผู้เป็นเจ้าว่า ก็ถูกละ ขอรับ.
แต่เมื่อพระพุทธเจ้า ยังมิทรงอุบัติ, กระผมได้ทำกัลยาณกรรมไว้, เมื่อ พุทธุปบาทกาล
ยังเป็นไปอยู่, เทพบุตรผู้มีศักดิ์เสมอกัน ๓ องค์ เหล่านี้ คือ จูฬรถเทพบุตร,
มหารถเทพบุตร, อเนกวัณณเทพบุตรทำกัลยาณกรรมแล้ว ได้เกิดในที่ใกล้ของกระผม
มีเดชมากกว่ากระผม, ก็กระผม เมื่อเทพบุตรทั้ง ๓ นั้น
พาพวกบริจาริกาลงสู่ระหว่างถนน ด้วยคิดว่า จัดเล่นนักขัตฤกษ์ ต้องหนีเข้าตำหนัก,
เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรทั้ง ๓ นั้น ท่วมทับสรีระของกระผม, เดชจากสรีระของกระผม
ไม่ท่วมทับสรีระของเทพบุตรทั้ง ๓ นั้น, ใครจะเข็ญใจกว่ากระผมเล่า ? ขอรับ.
พระเถระ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป
พระองค์อย่าได้ลวงถวายทานแก่อาตมภาพอย่างนี้. สักกะ. เมื่อกระผมลวงถวายทานแก่ท่าน,
กุศลจะมีแก่กระผมหรือไม่มี ? พระเถระ. มี พระองค์. สักกะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น
การทำกุศลกรรม ก็จัดเป็นหน้าที่ของกระผมซิ ขอรับ. ท้าวเธอตรัสอย่างนั้นแล้ว
ทรงไหว้พระเถระ พานางสุชาดาทรงทำปทักษิณพระเถระแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส
ทรงเปล่งอุทานว่า :- แม้ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ ดีแล้ว
ในพระกัสสป.
[มหากัสสปเถรทานสูตร]
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า :- สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์.
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป อยู่ปิปผลิคูหา, นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยบัลลังก์เดียว สิ้น ๗ วัน. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป โดยล่วง ๗
วันนั้นจึงออกจากสมาธินั้น, ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ผู้ออกจากสมาธินั้นแล้ว
ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ? เราพึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต.
ก็โดยสมัยนั้นแล เทวดาประมาณ ๕๐๐ ถึงความขวนขวาย
เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปได้บิณฑบาต. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
ห้ามเทวดาประมาณ๕๐๐ เหล่านั้นแล้ว ในเวลาเช้า นุ่ง (สบง)แล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ก็โดยสมัยนั้นแล
ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงประสงค์จะถวายบิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป
ทรงนิรมิตเป็นช่างหูก ทอหูกอยู่. อสุรกัญญานามว่า สุชาดา กรอหลอด. ครั้งนั้นแล
ท่านพระมหากัสสป, ที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า
มีอยู่โดยทิศาภาคใด, เข้าไปหาแล้วโดยทิศภาคนั้น, ท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล
ซึ่งท่านพระมหากัสสปกำลังเดินมา แต่ที่ไกล, ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว
เสด็จออกจากเรือน ทรงต้อน รับ รับบาตรจากมือ เสด็จเข้าไปสู่เรือน คดข้าวสุกจากหม้อ
ใส่เต็มบาตรแล้ว ได้ถวายแก่ท่านพระมหากัสสป. บิณฑบาตนั้น ได้มีกับมากมาย
มีแกงเหลือหลาย. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
สัตว์ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพเห็นปานนี้นี่ คือใครกันหนอ ?. ครั้งนั้นแล
ท่านพระมหากัสสป ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า นี้ คือท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้าแล.
ครั้นทราบแล้ว ได้กล่าวคำนี้ กะท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้าว่า
ท้าวโกสิยะ กรรมนี้ อันพระองค์ทรงทำแล้ว,
พระองค์อย่าได้ทรงทำกรรมเห็นปานนี้อีกเลย. ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านกัสสป ผู้เจริญ
แม้พวกผมก็ต้องการบุญ, แม้พวกผมก็ควรทำบุญ. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมแห่งเทพเจ้า อภิวาทท่านพระมหากัสสปแล้ว ทรงทำปทักษิณ เหาะขึ้นสู่เวหาส
ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :- แม้ทานเป็นทานอย่างเยี่ยม
เราได้ตั้งไว้ดีแล้ว ในพระกัสสป, แม้ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้ว
ในพระกัสสป, แม้ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้ว ในพระกัสสป. พระผู้มีพระภาค
ประทับยืนอยู่ในพระวิหารนั่นแล ได้ทรงสดับเสียงของท้าวสักกะนั้น
จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงดูท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงเปล่งอุทาน เสด็จไปทางอากาศ.
ภิกษุ. ก็ท้าวสักกะนั้น ทำอะไร ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ท้าวเธอลวงถวายบิณฑบาตแก่กัสสปผู้บุตรของเรา,
ครั้นถวายบิณฑบาตนั้นแล้ว ดีพระทัย พลางทรงเปล่งอุทานไป.
ภิกษุ. ท้าวเธอทราบได้อย่างไรว่า ถวายบิณฑบาตแก่พระเถระควร พระเจ้าข้า ?
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทั้งเหล่าเทพเจ้า ทั้งเหล่ามนุษย์ ย่อมพอใจ
ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ชื่อว่าเช่นบุตรของเรา ดังนี้แล้ว
แม้พระองค์เองก็ทรงเปล่งอุทานแล้ว. ก็ในพระสูตร คำมาแล้วเท่านี้นั่นเทียวว่า
พระผู้มีพระภาค ได้ทรงสดับแล้วแล ซึ่งเสียงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้าผู้เหาะขึ้นสู่เวหาส
ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :- แม้ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม
เราได้ตั้งไว้ดีแล้ว ในพระกัสสป, แม้ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม
เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป, แม้ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้ว
ในพระกัสสป. ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ หมดจด ล่วงเสียซึ่งโสตของมนุษย์.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า :- เทวดาและมนุษย์ ย่อมพอใจ แก่ภิกษุผู้ถือ
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตัวเอง มิใช้เลี้ยงผู้อื่น ผู้มั่นคง ผู้เข้าไปสงบแล้ว
มีสติทุกเมื่อ.
ก็แลครั้นทรงเปล่งอุทานนี้แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้เสด็จมาถวายบิณฑบาต แก่บุตรของเรา
เพราะกลิ่นศีล ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :- กลิ่นนี้ คือ กลิ่นกะลำพัก
และกลิ่นจันทน์ เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย, ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย
เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไป ใน เทพเจ้าและเหล่ามนุษย์.
[แก้อรรถ]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺโต
คือ มีประมาณนิดหน่อย. สองบทว่า โย จ สีลวต ความว่า ส่วนกลิ่นศีล ของผู้มีศีลทั้งหลายใด, กลิ่นศีลนั้น
หาเป็นกลิ่นเล็กน้อย เหมือนกลิ่นในกะลำพักและจันทน์แดงไม่ คือ เป็นกลิ่นอันโอฬาร
แผ่ซ่านไปเหลือเกิน, ด้วยเหตุนั้นแล กลิ่นศีล จึงเป็นกลิ่นสูงสุด คือประเสริฐ เลิศ
ฟุ้งไปในเหล่าเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์ คือ ฟุ้งไปในเหล่าเทพเจ้า และเหล่ามนุษย์
ได้แก่ หอมตลบทั่วไปทีเดียว.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
เทศนาเกิดประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ
จบ.
๑๐. มหากสฺสปตฺเถรปิณฺฑปาตทินฺนวตฺถุ
อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เวฬุวเน วิหรนฺโต มหากสฺสปตฺเถรสฺส ปิณฺฑปาตทานํ อารพฺภ กเถสิ.
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
ทรงปรารภการถวายบิณบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่าอปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ เป็นต้น.
เอกสฺมิญฺหิ ทิวเส เถโร สตฺตาหจฺจเยน นิโรธา วุฏฺฐาย “ราชคเห สปทานํ ปิณฺฑาย จริสฺสามี”ติ นิกฺขมิ.
ตสฺมึ ปน สมเย สกฺกสฺส เทวรญฺโญ ปริจาริกา กกุฏปาทินิโย ปญฺจสตา อจฺฉราโย “เถรสฺส ปิณฺฑปาตํ ทสฺสามา”ติ อุสฺสาหชาตา ปญฺจ ปิณฺฑปาตสตานิ สชฺเชตฺวา อาทาย อนฺตรามคฺเค ฐตฺวา “ภนฺเต อิมํ ปิณฺฑปาตํ คณฺหถ สงฺคหํ โน กโรถา”ติ วทึสุ.
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระออกจากนิโรธสมบัติ โดยล่วงไป ๗ วัน ออกไปแล้ว
ด้วยคิดว่า จักเที่ยวบิณฑบาต ตามลำดับตรอก ในกรุงราชคฤห์. ในสมัยนั้น
นางอัปสรประมาณ ๕๐๐นาง มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบ เป็นบริจาริกา
ของท้าวสักกเทวราชเกิดความอุตสาหะว่า จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ
จึงตระเตรียมบิณฑบาต ๕๐๐ ที่แล้วถือมายืนอยู่ในระหว่างทางกล่าวว่า นิมนต์รับบิณฑบาตนี้
เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์แก่พวกดิฉันเถิด.
“คจฺฉถ ตุมฺเห อหํ ทุคฺคตานํ สงฺคหํ กริสฺสามี”ติ. “ภนฺเต มา โน นาเสถ สงฺคหํ โน กโรถา”ติ.
พระเถระ. พวกเจ้าจงไปเสียเถิด, ฉันจักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ. นางอัปสร.
ขอท่านอย่าให้พวกดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด.
เถโร ญตฺวา ปุน ปฏิกฺขิปิตฺวา ปุนปิ อปคนฺตุํ อนิจฺฉมานา ยาจนฺติโย “อตฺตโน ปมาณํ น ชานาถ อปคจฺฉถา”ติ อจฺฉรํ ปหริ.
พระเถระรู้แล้ว
จึงห้ามเสียอีกแล้วดีดนิ้ว (บอก) นางอัปสรทั้งหลาย
ผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไปยังอ้อนวอนอยู่ว่า พวกเจ้าไม่รู้จักประมาณตัว, จงหลีกไป.
ตา เถรสฺส อจฺฉรสทฺทํ สุตฺวา สนฺถมฺภิตฺวา สมฺมุขา ฐาตุํ อสกฺโกนฺติโย ปลายิตฺวา เทวโลกเมว คนฺตฺวา สกฺเกน “กหํ คตาตฺถา”ติ ปุฏฺฐา “‘สมาปตฺติโต วุฏฺฐิตสฺส เถรสฺส ปิณฺฑปาตํ ทสฺสามา’ติ คตามฺหา เทวา”ติ. “ทินฺโน
ปน วา”ติ?
“คณฺหิตุํ น อิจฺฉตี”ติ. “กึ กเถสี”ติ?
“‘ทุคฺคตานํ สงฺคหํ กริสฺสามี’ติ อาห เทวา”ติ. “ตุมฺเห
เกนากาเรน
คตา”ติ. “อิมินาว เทวา”ติ.
นางอัปสรเหล่านั้น ฟังเสียงนิ้วมือของพระเถระแล้ว
ไม่อาจเพื่อจะยืนขัดแข็งอยู่ได้ จึงหนีไปยัง เทวโลกตามเดิม อันท้าวสักกะตรัสถามว่า
พวกหล่อนไปไหนกันมาจึงทูลว่า หม่อมฉันพากันไปด้วยหมายว่า
จักถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ผู้ออกจากสมาบัติ พระเจ้าข้า. สักกะ. ก็พวกหล่อน
ถวายแล้วหรือ ? นางอัปสร. พระเถระไม่ปรารถนาจะรับ. สักกะ. พระเถระพูดอย่างไร ?
นางอัปสร. ท่านพูดว่า จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจพระเจ้าข้า. สักกะ. พวกหล่อน
ไปกันด้วยอาการอย่างไร ? นางอัปสร. ไปด้วยอาการนี้แล พระเจ้าข้า.
สกฺโก “ตุมฺหาทิสิโย เถรสฺส ปิณฺฑปาตํ กึ ทสฺสนฺตี”ติ สยํ ทาตุกาโม หุตฺวา ชราชิณฺโณ มหลฺลโก ขณฺฑทนฺโต ปลิตเกโส โอตคฺคสรีโร มหลฺลกตนฺต วาโย หุตฺวา สุชมฺปิ เทวธีตรํ ตถารูปเมว มหลฺลิกํ กตฺวา เอกํ เปสการวีถึ มาเปตฺวา ตนฺตํ ปสาเรนฺโต อจฺฉิ.
ท้าวสักกะตรัสว่า หญิงเช่นพวกหล่อน จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระได้อย่างไร ?
ประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลงเป็นคนแก่คร่ำคร่าด้วยอำนาจชรา มีฟันหัก
มีผมหงอก หลังโกงเป็นช่างหูกผู้เฒ่า ทรงทำแม้นางสุชาดาผู้เทพธิดา
ให้เป็นหญิงแก่เหมือนอย่างนั้นนั่นแลแล้วทรงนิรมิตถนนช่างหูกขึ้นสายหนึ่งประทับขึงหูกอยู่.
เถโรปิ “ทุคฺคตานํ สงฺคหํ กริสฺสามี”ติ นคราภิมุโข คจฺฉนฺโต พหินคเร เอว ตํ วีถึ ทิสฺวา โอโลเกนฺโต ทฺเว ชเน อทฺทส.
ตสฺมึ ขเณ สกฺโก ตนฺตํ ปสาเรติ สุชา ตสรํ วฏฺเฏติ.
ฝ่ายพระเถระ
เดินบ่ายหน้าเข้าเมือง ด้วยหวังว่า จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ เห็นถนนสายนั้น
นอกเมืองนั้นแล แลดูอยู่ ก็ได้เห็นคน ๒ คน. ในขณะนั้น ท้าวสักกะ กำลังขึงหูก,
นางสุชาดากรอหลอด.
เถโร จินฺเตสิ “อิเม มหลฺลกกาเลปิ กมฺมํ กโรนฺติเยว อิมสฺมึ นคเร อิเมหิ ทุคฺคตตรา นตฺถิ มญฺเญ อิเมหิ ทินฺนํ อุฬุงฺกมตฺตมฺปิ สากมตฺตมฺปิ คเหตฺวา อิเมสํ สงฺคหํ กริสฺสามี”ติ.
โส เตสํ เคหาภิมุโข อโหสิ.
พระเถระคิดว่า ๒ คนนี้ แม้ในเวลาแก่ ก็ยังทำงาน, ในเมืองนี้
ผู้ที่จะเข็ญใจกว่า ๒ คนนี้ เห็นจะไม่มี, เราจักรับภัตแม้ประมาณกระบวย ๑ ที่ ๒
คนนี้ถวายแล้ว ทำความสงเคราะห์แก่คน ๒ คนนี้. พระเถระได้บ่ายหน้าไปตรงเรือนของตน๒
คนนั้นแล.
สกฺโก ตํ อาคจฺฉนฺตํ ทิสฺวา สุชํ อาห “ภทฺเท มยฺหํ อยฺโย อิโต อาคจฺฉติ ตฺวํ อปสฺสนฺตี วิย ตุณฺหี หุตฺวา นิสีท ขเณน เถรํ วญฺเจตฺวา ปิณฺฑปาตํ ทสฺสามา”ติ.
ท้าวสักกะ
ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั้นมาอยู่ จึงตรัสกะนางสุชาดาว่า หล่อน
พระผู้เป็นเจ้าของเรา เดินมาทางนี้, เธอจงนั่งทำเป็นเหมือนไม่เห็นท่านเสีย,
ฉันจักลวงท่านสักครู่หนึ่งแล้วจึงถวายบิณฑบาต.
เถโร อาคนฺตฺวา เคหทฺวาเร อฏฺฐาสิ.
เตปิ อปสฺสนฺตา วิย อตฺตโน กมฺมเมว กโรนฺตา โถกํ อาคมึสุ.
พระเถระได้มายืนอยู่ที่ประตูเรือนแล้ว.
แม้ ๒ ผัวเมียนั้น ก็ทำเป็นเหมือนไม่เห็น
ทำแต่การงานของตนฝ่ายเดียวคอยอยู่หน่อยหนึ่งแล้ว.
อถ สกฺโก “เคหทฺวาเร เอโก เถโร วิย ฐิโต อุปธาเรหิ ตาวา”ติ อาห. “คนฺตฺวา อุปธาเรถ สามี”ติ.
โส เคหา นิกฺขมิตฺวา เถรํ ปญฺจปติฏฺฐิเตน วนฺทิตฺวา อุโภหิ หตฺเถหิ ชณฺณุกานิ โอลมฺพิตฺวา นิตฺถุนนฺโต อุฏฺฐาย “กตโร เถโร นุ โข อยฺโย”ติ โถกํ โอสกฺกิตฺวา “อกฺขีนิ
เม ธูมายนฺตี”ติ วตฺวา นลาเฏ หตฺถํ ฐเปตฺวา อุทฺธํ โอโลเกตฺวา “อโห ทุกฺขํ อยฺโย โน มหากสฺสปตฺเถโร จิรสฺสํ เม กุฏิทฺวารํ อาคโต อตฺถิ นุ โข กิญฺจิ เคเห”ติ อาห.
ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า ที่ประตูเรือนดูเหมือน (มี)
พระเถระยืนอยู่รูปหนึ่ง, เธอจงไปตรวจดูก่อน. นางสุขาดา ตอบว่า ท่านจงไปตรวจดูเถอะ
นาง. ท้าวเธอเสด็จออกจากเรือนแล้ว, ทรงไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว,
เอาพระหัตถ์ทั้ง ๒ เท้าพระชานุแล้ว ถอนใจ เสด็จลุกขึ้น,
ย่อพระองค์ลงหน่อยหนึ่งตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอแล
?แล้วตรัสว่า ตาของผมฝ้าฟาง ดังนี้แล้ว, ทรงวางพระหัตถ์ไว้เหนือพระนลาฏ (ป้องหน้า)
ทรงแหงนดูแล้ว,ตรัสว่า โอ ตายจริง !, พระผู้เป็นเจ้าพระมหากัสสปเถระของเรา นาน ๆ
จึงมายังประตูกระท่อมของเรา, มีอะไรอยู่ในเรือนบ้างไหม ?
สุชา โถกํ อากุลํ วิย หุตฺวา “อตฺถิ สามี”ติ ปฏิวจนํ อทาสิ.
สกฺโก “ภนฺเต ลูขํ วา ปณีตํ วาติ อจินฺเตตฺวา สงฺคหํ โน กโรถา”ติ ปตฺตํ คณฺหิ.
นางสุชาดา
ทำเป็นกุลีกุจออยู่หน่อยหนึ่งแล้ว ได้ให้คำตอบว่า มี นาย ท้าวสักกะตรัสว่า
ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้า อย่าคิดเลยว่า ทาน เศร้าหมอง หรือประณีต
โปรดทำความสงเคราะห์แก่กระผมทั้ง ๒ เถิด ดังนี้แล้ว ก็ทรงรับบาตรไว้.
เถโร “เอเตหิ ทินฺนํ สากํ วา โหตุ กุณฺฑกมุฏฺฐิ วา สงฺคหํ เนสํ กริสฺสามี”ติ ปตฺตํ อทาสิ. โส อนฺโตฆรํ ปวิสิตฺวา ฆฏิโอทนํ นาม ฆฏิยา อุทฺธริตฺวา ปตฺตํ ปูเรตฺวา เถรสฺส หตฺเถ ฐเปสิ.
โส อโหสิ ปิณฺฑปาโต อเนกสูปพฺยญฺชโน สกลํ ราชคหนครํ คนฺเธน อชฺโฌตฺถริ.
พระเถระคิดว่า ทานที่ ๒ ผัวเมียนั่นถวายแล้ว
จะเป็นน้ำผักดองหรือรำกำมือหนึ่งก็ตามที, เราจักทำความสงเคราะห์แก่ ๒ ผัวเมียนั้น
ดังนี้แล้ว จึงได้ให้บาตรไป. ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปภายในเรือนแล้ว
ทรงคดข้าวสุกออกจากหม้อ ใส่เต็มบาตรแล้ว มอบถวายในมือพระเถระ.
บิณฑบาตนั้นได้มีสูปพยัญชนะมากมาย ได้หอมตลบทั่วกรุงราชคฤห์แล้ว.
ตทา เถโร จินฺเตสิ “อยํ ปุริโส อปฺเปสกฺโข ปิณฺฑปาโต มเหสกฺโข สกฺกสฺส โภชนสทิโส โก นุ โข เอโส”ติ. อถ นํ “สกฺโก”ติ
ญตฺวา อาห “ภาริยํ เต กมฺมํ กตํ ทุคฺคตานํ สมฺปตฺตึ วิลุมฺปนฺเตน อชฺช มยฺหํ ทานํ ทตฺวา โกจิเทว ทุคฺคโต เสนาปติฏฺฐานํ วา เสฏฺฐิฏฺฐานํ วา ลเภยฺยา”ติ. “มยา ทุคฺคตตโร นตฺถิ ภนฺเต”ติ.
ในกาลนั้น พระเถระคิดว่า ชายนี้ มีศักดิ์น้อย, บิณฑบาตมีศักดิ์มาก
เช่นกับโภชนะของท้าวสักกะ, นั่น ใครหนอ? ครั้งนั้น พระเถระทราบชายนั้นว่า
ท้าวสักกะ จึงกล่าวว่า พระองค์ทรงแย่งสมบัติของคนเข็ญใจ (จัดว่า) ทำกรรมหนักแล้ว,
ใคร ๆ ก็ตาม ที่เป็นคนเข็ญใจ ถวายทานแก่อาตมภาพในวันนี้ พึงได้ตำแหน่งเสนาบดี
หรือตำแหน่งเศรษฐี. สักกะ. ผู้ที่เข็ญใจไปกว่ากระผม ไม่มีเลย ขอรับ.
“กึ การณา ตฺวํ ทุคฺคโต เทวโลเก รชฺชสิรึ อนุภวนฺโต”ติ? “ภนฺเต เอวํ นาเมตํ มยา ปน อนุปฺปนฺเน พุทฺเธ กลฺยาณกมฺมํ กตํ พุทฺธุปฺปาเท วตฺตมาเน กลฺยาณกมฺมํ กตฺวา จูฬรถเทวปุตฺโต มหารถเทวปุตฺโต อเนกวณฺณเทวปุตฺโตติ อิเม ตโย สมานเทวปุตฺตา มม อาสนฺนฏฺฐาเน นิพฺพตฺตา มยา เตชวนฺตตรา.
พระเถระ. พระองค์เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะจัดว่าเป็นคนเข็ญใจ
เพราะเหตุไร ? สักกะ. อย่างที่พระผู้เป็นเจ้าว่า ก็ถูกละ ขอรับ.
แต่เมื่อพระพุทธเจ้า ยังมิทรงอุบัติ, กระผมได้ทำกัลยาณกรรมไว้, เมื่อ พุทธุปบาทกาล
ยังเป็นไปอยู่, เทพบุตรผู้มีศักดิ์เสมอกัน ๓ องค์ เหล่านี้ คือ จูฬรถเทพบุตร,
มหารถเทพบุตร, อเนกวัณณเทพบุตรทำกัลยาณกรรมแล้ว ได้เกิดในที่ใกล้ของกระผม
มีเดชมากกว่ากระผม,
อหญฺหิ เตสุ เทวปุตฺเตสุ ‘นกฺขตฺตํ กีฬิสฺสามา’ติ ปริจาริกาโย คเหตฺวา อนฺตรวีถึ โอติณฺเณสุ ปลายิตฺวา เคหํ ปวิสามิ.
เตสญฺหิ
สรีรโต
เตโช มม สรีรํ โอตฺถรติ มม สรีรโต เตโช เตสํ สรีรํ น โอตฺถรติ ‘โก มยา ทุคฺคตตโร ภนฺเต’ติ. ‘เอวํ สนฺเตปิ อิโต ปฏฺฐาย มยฺหํ มา เอวํ วญฺเจตฺวา ทานมทาสี”’ติ.
ก็กระผม เมื่อเทพบุตรทั้ง ๓ นั้น พาพวกบริจาริกาลงสู่ระหว่างถนน ด้วยคิดว่า
จัดเล่นนักขัตฤกษ์ ต้องหนีเข้าตำหนัก, เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรทั้ง ๓ นั้น
ท่วมทับสรีระของกระผม, เดชจากสรีระของกระผม ไม่ท่วมทับสรีระของเทพบุตรทั้ง ๓ นั้น,
ใครจะเข็ญใจกว่ากระผมเล่า ? ขอรับ. พระเถระ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น
ตั้งแต่นี้ต่อไป พระองค์อย่าได้ลวงถวายทานแก่อาตมภาพอย่างนี้.
“วญฺเจตฺวา ตุมฺหากํ ทาเน ทินฺเน มยฺหํ กุสลํ อตฺถิ น อตฺถี”ติ? “อตฺถาวุโส”ติ.
“เอวํ สนฺเต กุสลกมฺมกรณํ นาม มยฺหํ ภาโร ภนฺเต”ติ. โส เอวํ วตฺวา เถรํ วนฺทิตฺวา สุชํ คเหตฺวา เถรํ ปทกฺขิณํ กตฺวา เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา “อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิต”นฺติ อุทานํ อุทาเนสิ.
สักกะ. เมื่อกระผมลวงถวายทานแก่ท่าน, กุศลจะมีแก่กระผมหรือไม่มี ? พระเถระ.
มี พระองค์. สักกะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น การทำกุศลกรรม ก็จัดเป็นหน้าที่ของกระผมซิ
ขอรับ. ท้าวเธอตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงไหว้พระเถระ
พานางสุชาดาทรงทำปทักษิณพระเถระแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่งอุทานว่า :- แม้ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม
เราได้ตั้งไว้ ดีแล้ว ในพระกัสสป.
เตน วุตฺตํ
“เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป. เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา มหากสฺสโป ปิปฺปลิคุหายํ วิหรติ สตฺตาหํ เอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน โหติ อญฺญตรํ สมาธึ สมาปชฺชิตฺวา.
อถ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ตสฺส สตฺตาหสฺส อจฺจเยน ตมฺหา สมาธิมฺหา วุฏฺฐาสิ.
อถ โข อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส ตมฺหา สมาธิมฺหา วุฏฺฐิตสฺส เอตทโหสิ “ยํนูนาหํ ราชคหํ ปิณฺฑาย ปวิเสยฺย”นฺติ.
“เตน โข ปน สมเยน ปญฺจมตฺตานิ เทวตาสตานิ อุสฺสุกฺกํ อาปนฺนานิ โหนฺติ อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส ปิณฺฑปาตปฏิลาภาย.
อถ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ตานิ ปญฺจมตฺตานิ เทวตาสตานิ ปฏิกฺขิปิตฺวา ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย ราชคหํ ปิณฺฑาย ปาวิสิ.
“เตน โข ปน สมเยน สกฺโก เทวานมินฺโท อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส ปิณฺฑปาตํ ทาตุกาโม โหติ.
เปสการวณฺณํ
อภินิมฺมินิตฺวา
ตนฺตํ วินาติ สุชา อสุรกญฺญา ตสรํ ปูเรติ. อถ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ราชคเห สปทานํ ปิณฺฑาย จรมาโน เยน สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมิ อทฺทสา โข สกฺโก เทวานมินฺโท อายสฺมนฺตํ มหากสฺสปํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํ ทิสฺวา ฆรา นิกฺขมิตฺวา ปจฺจุคฺคนฺตฺวา หตฺถโต ปตฺตํ คเหตฺวา ฆรํ ปวิสิตฺวา ฆฏิยา โอทนํ อุทฺธริตฺวา ปตฺตํ ปูเรตฺวา อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส อทาสิ.
โส อโหสิ ปิณฺฑปาโต อเนกสูโป อเนกพฺยญฺชโน อเนกรสพฺยญฺชโน.
อถ โข อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส เอตทโหสิ ‘โก นุ โข อยํ สตฺโต ยสฺสายํ เอวรูโป อิทฺธานุภาโว’ติ. อถ โข อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส เอตทโหสิ ‘สกฺโก โข อยํ เทวานมินฺโท’ติ วิทิตฺวา สกฺกํ เทวานมินฺทํ เอตทโวจ ‘กตํ โข เต อิทํ โกสิย มา ปุนปิ เอวรูปมกาสี”’ติ. “อมฺหากมฺปิ
ภนฺเต กสฺสป ปุญฺเญน อตฺโถ อมฺหากมฺปิ ปุญฺเญน กรณีย”นฺติ.
“อถ โข สกฺโก เทวานมินฺโท อายสฺมนฺตํ มหากสฺสปํ อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา อากาเส อนฺตลิกฺเข ติกฺขตฺตุํ อุทานํ อุทาเนสิ ‘อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิตํ อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิตํ อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิต”’นฺติ (อุทา. ๒๗).
อถ โข ภควา วิหาเร ฐิโต เอว ตสฺส ตํ สทฺทํ สุตฺวา ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา “ปสฺสถ ภิกฺขเว สกฺกํ เทวานมินฺทํ อุทานํ อุทาเนตฺวา อากาเสน คจฺฉนฺต”นฺติ อาห.
“กึ ปน เตน กตํ ภนฺเต”ติ? “วญฺเจตฺวา
เตน มยฺหํ ปุตฺตสฺส กสฺสปสฺส ปิณฺฑปาโต ทินฺโน ตํ ทตฺวา ตุฏฺฐมานโส อุทานํ อุทาเนนฺโต คจฺฉตี”ติ. “เถรสฺส
ปิณฺฑปาตํ
ทาตุํ วฏฺฏตี”ติ กถํ ภนฺเต เตน ญาตนฺติ.
“ภิกฺขเว มม ปุตฺเตน สทิสํ นาม ปิณฺฑปาติกํ เทวาปิ มนุสฺสาปิ ปิหยนฺตีติ วตฺวา สยมฺปิ อุทานํ อุทาเน”สิ. สุตฺเต ปน เอตฺถกเมว อาคตํ
“อสฺโสสิ โข ภควา ทิพฺพาย โสตธาตุยา วิสุทฺธาย อติกฺกนฺตมานุสิกาย สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา อากาเส อนฺตลิกฺเข ติกฺขตฺตุํ อุทานํ อุทาเนนฺตสฺส “อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิตํ อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิตํ อโห ทานํ ปรมทานํ กสฺสเป สุปฺปติฏฺฐิต”นฺติ (อุทา. ๒๗).
อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ตายํ เวลายํ อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ
“ปิณฺฑปาติกสฺส ภิกฺขุโน
อตฺตภรสฺส อนญฺญโปสิโน.
เทวา ปิหยนฺติ ตาทิโน
อุปสนฺตสฺส สทา สตีมโต”ติ. (อุทา. ๒๗).
อิมญฺจ ปน อุทานํ อุทาเนตฺวา “ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท มม ปุตฺตสฺส สีลคนฺเธน อาคนฺตฺวา ปิณฺฑปาตํ อทาสี”ติ วตฺวา อิมํ คาถมาห
๕๖.
“อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ ยฺวายํ ตครจนฺทนํ.
โย จ สีลวตํ คนฺโธ วาติ เทเวสุ อุตฺตโม”ติ.
ตตฺถ อปฺปมตฺโตติ ปริตฺตปฺปมาโณ.
โย จ สีลวตนฺติ โย ปน สีลวนฺตานํ สีลคนฺโธ โส ตครํ วิย โลหิตจนฺทนํ วิย จ ปริตฺตโก น โหติ อติวิย อุฬาโร วิปฺผาริโต.
เตเนว การเณน วาติ เทเวสุ อุตฺตโมติ ปวโร เสฏฺโฐ หุตฺวา เทเวสุ จ มนุสฺเสสุ จ สพฺพตฺถเมว วายติ โอตฺถรนฺโต คจฺฉตีติ.
เทสนาวสาเน พหู โสตาปตฺติผลาทีนิ ปตฺตา.
เทสนา มหาชนสฺส สาตฺถิกา ชาตาติ.
มหากสฺสปตฺเถรปิณฺฑปาตทินฺนวตฺถุ
ทสมํ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น