วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๑ (ข้อความเบื้องต้น)





๑. ยมกวรรค วรรณนา
๑. เรื่องพระจักขุปาลเถระ [๑]
[ข้อความเบื้องต้น]

จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ

. “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา.
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา.
ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ จกฺกํว วหโต ปทนฺติ.
อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติสาวตฺถิยํกํ อารพฺภาติจกฺขุปาลตฺเถรํ.


มีปุจฉาว่า พระธรรมเทศนานี้ว่า

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
 สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี
 ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจ
 ล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น,
ดังนี้ พระศาสดาตรัสแล้ว ณ ที่ไหน ?
 วิสัชนาว่า พระองค์ตรัสแล้ว ณ กรุงสาวัตถี. 
 มีปุจฉา (เป็นลำดับไป )ว่า พระองค์ทรงปรารภใคร ?
 มีวิสัชนาว่า พระองค์ทรงปรารภพระจักขุปาลเถระ. 
[กุฎุมพีทำพิธีขอบุตร]

สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏุมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค อปุตฺตโกโส เอกทิวสํ นฺหานติตฺถํ คนฺตฺวา นฺหตฺวา  อาคจฺฉนฺโต อนฺตรามคฺเค สมฺปนฺนปตฺตสาขํ เอกํ วนปฺปตึ ทิสฺวา อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสตีติ ตสฺส เหฏฺฐาภาคํ โสธาเปตฺวา ปาการปริกฺเขปํ การาเปตฺวา วาลุกํ โอกิราเปตฺวา ธชปฏากํ อุสฺสาเปตฺวา วนปฺปตึ อลงฺกริตฺวา อญฺชลึ กริตฺวา สเจ ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลเภยฺยํ ตุมฺหากํ มหาสกฺการํ กริสฺสามีติ ปตฺถนํ กตฺวา ปกฺกามิ.


 ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี มีกุฎุมพีผู้หนึ่งชื่อมหาสุวรรณเป็นคนมั่งมี มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก (แต่) ไม่มีบุตร. วันหนึ่งเขาไปสู่ท่าอาบน้ำ อาบเสร็จแล้วกลับมา เห็นต้นไม้ใหญ่ที่เป็นเจ้าไพรต้นหนึ่งมีกิ่งสมบูรณ์ ในระหว่างทาง คิดว่า ต้นไม้นี้ จักมีเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่สิงอยู่ ดังนี้แล้ว จึงให้ชำระส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้นให้สะอาดแล้ว ให้วงรั้ว เกลี่ยทราย ยกธงชัยและธงปฏากขึ้น แต่ง ต้นไม้เจ้าไพรแล้ว ทำปรารถนา (คือบน)ว่า ข้าพเจ้าได้บุตรหรือธิดาแล้ว จักทำสักการะใหญ่ถวายท่าน ดังนี้แล้ว หลีกไป

 [กุฎุมพีได้บุตรสองคน]

อถสฺส น จิรสฺเสว ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิสา คพฺภสฺส ปติฏฺฐิตภาวํ ญตฺวา ตสฺส อาโรเจสิโส ตสฺสา คพฺภสฺส ปริหารมทาสิสา ทสมาสจฺจเยน ปุตฺตํ วิชายิตํ นามคฺคหณทิวเส เสฏฺฐิ อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺธตฺตา ตสฺส ปาโลติ นามํ อกาสิสา อปรภาเค อญฺญมฺปิ ปุตฺตํ ลภิตสฺส จูฬปาโลติ นามํ กตฺวา อิตรสฺส มหาปาโลติ นามํ อกาสิเต วยปฺปตฺเต ฆรพนฺธเนน พนฺธึสุอปรภาเค มาตาปิตโร กาลมกํสุสพฺพมฺปิ วิภวํ อิตเรเยว วิจารึสุ.


 ในกาลเป็นลำดับมา ภรรยาของท่านเศรษฐีก็ตั้งครรภ์. ท่านก็ให้พิธีครรภบริหาร แก่นาง. ครั้นล่วง ๑๐ เดือน นางคลอดบุตรคนหนึ่งท่านเศรษฐีขนานนามแห่งบุตรนั้นว่า ปาละ เพราะเหตุทารกนั้นตนอาศัยไม้ใหญ่ที่เป็นเจ้าไพรอันตนอภิบาลจึงได้แล้ว. ในกาลเป็นส่วนอื่น ท่านเศรษฐีได้บุตรอีกคนหนึ่ง ขนานนามว่า จุลปาละ ขนานนามบุตรคนแรกว่า มหาปาละ. ครั้น ๒กุมารนั้นเจริญวัย มารดาบิดาก็คิดผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือการครองเคหสถาน. ในกาลเป็นส่วนอื่น มารดาบิดาได้ทำกาลกิริยาล่วงไป. วงศ์ญาติก็เปิดสมบัติทั้งหมดมอบให้แก่ ๒ เศรษฐีบุตร



แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๒ (พระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ๒๕ พรรษา)



[พระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ๒๕ พรรษา]

         ตสฺมึ สมเย สตฺถา ปวตฺติตวรธมฺมจกฺโก อนุปุพฺเพนาคนฺตฺวา อนาถปิณฺฑิเกน มหาเสฏฺฐินา จตุปณฺณาสโกฏิธนํ วิสฺสชฺเชตฺวา การิเต เชตวนมหาวิหาเร วิหรติ มหาชนํ สคฺคมคฺเค จ โมกฺขมคฺเค จ ปติฏฺฐาปยมาโนตถาคโต หิ มาติปกฺขโต อสีติยา ปิติปกฺขโต อสีติยาติ ทฺเวอสีติญาติกุลสหสฺเสหิ การิเต นิคฺโรธมหาวิหาเร เอกเมว วสฺสาวาสํ วสิ อนาถปิณฺฑิเกน การิเต เชตวนมหาวิหาเร เอกูนวีสติวสฺสานิ วิสาขาย สตฺตวีสติโกฏิธนปริจฺจาเคน การิเต ปุพฺพาราเม ฉพฺพสฺสานีติ ทฺวินฺนํ กุลานํ คุณมหตฺตตํ ปฏิจฺจ สาวตฺถึ นิสฺสาย ปญฺจวีสติวสฺสานิ วสฺสาวาสํ วสิ

 ในสมัยนั้น พระศาสดาทรงประกาศพระบวรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เสด็จไปโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี บริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิสร้างถวาย, ทรงสั่งสอนมหาชนให้ตั้งอยู่ในทางสวรรค์และในทางนิพพาน. แท้จริง พระตถาคตเสด็จอยู่จำพรรษา ๆ เดียวเท่านั้นในนิโครธมหาวิหารที่พระญาติวงศ์ฝ่ายพระชนนี ๘ หมื่นตระกูล, ฝ่ายพระชนก ๘หมื่นตระกูล เข้ากันเป็นแสนหกหมื่นตระกูลสร้างถวาย, เสด็จอยู่จำพรรษา ณ เชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา, เสด็จจำพรรษา ณ บุพพารามที่นางวิสาขามหาอุบาสิกา บริจาคทรัพย์นับได้ ๒๗ โกฏิสร้างถวาย ๖ พรรษา, ทรงอาศัยที่ตระกูลทั้ง ๒เป็นผู้ใหญ่โดยคุณธรรม เสด็จอยู่จำพรรษาอาศัยกรุงสาวัตถี (เป็นโคจรคาม) ถึง ๒๕ พรรษา ด้วยประการฉะนี้

 [ผู้บำรุงภิกษุสามเณร]

อนาถปิณฺฑิโกปิ วิสาขาปิ มหาอุปาสิกา นิพทฺธํ ทิวสสฺส ทฺเว วาเร ตถาคตสฺส อุปฏฺฐานํ คจฺฉนฺติ คจฺฉนฺตา จ ทหรสามเณรา โน หตฺเถ โอโลเกสฺสนฺตีติ ตุจฺฉหตฺถา น คตปุพฺพาปุเรภตฺตํ คจฺฉนฺตา ขาทนียโภชนียาทีนิ คเหตฺวาว คจฺฉนฺติ ปจฺฉาภตฺตํ คจฺฉนฺตา ปญฺจ เภสชฺชานิ อฏฺฐ จ ปานานินิเวสเนสุ ปน เตสํ ทฺวินฺนํ ทฺวินฺนํ ภิกฺขุสหสฺสานํ นิจฺจํ ปญฺญตฺตาสนาเนว โหนฺติอนฺนปานเภสชฺเชสุ โย ยํ อิจฺฉติ ตสฺส ตํ ยถิจฺฉิตเมว สมฺปชฺชติ


 ทั้งท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ทั้งวิสาขามหาอุบาสิกาย่อมไปสู่ที่อุปัฏฐากพระตถาคตเจ้าวันละ ๒ ครั้งเป็นประจำ. และเมื่อไปไม่เคยมีมือเปล่าไป ด้วยคิดเกรงว่า ภิกษุหนุ่มและสามเณร จักแลดูมือตน. เมื่อไปก่อนเวลาฉันอาหาร ย่อมใช้ให้คนถือของขบเคี้ยวเป็นต้นไป, เมื่อไปภายหลังแต่เวลาฉันอาหาร ใช้ให้คนถือปัญจเภสัช และอัฐบานไป. และในเคหสถานแห่งท่านทั้ง ๒นั้น เขาแต่งอาสนะไว้เพื่อภิกษุแห่งละ ๒ พันรูปเป็นนิตยกาล. พระภิกษุรูปใด ปรารถนาของสิ่งใด จะเป็นข้าวน้ำหรือเภสัช ของนั้นก็สำเร็จแก่พระภิกษุรูปนั้นสมปรารถนา

 [เศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหา]

เตสุ อนาถปิณฺฑิเกน เอกทิวสมฺปิ สตฺถา ปญฺหํ น ปุจฺฉิตปุพฺโพโส กิร ตถาคโต พุทฺธสุขุมาโล ขตฺติยสุขุมาโล พหูปกาโร เม คหปตีติ มยฺหํ ธมฺมํ เทเสนฺโต กิลเมยฺยาติ สตฺถริ อธิมตฺตสิเนเหน ปญฺหํ น ปุจฺฉติสตฺถา ปน ตสฺมึ นิสินฺนมตฺเตเยว อยํ เสฏฺฐิ มํ อรกฺขิตพฺพฏฺฐาเน รกฺขติอหญฺหิ กปฺปสตสหสฺสาธิกานิ จตฺตาริ อสงฺขฺเยยฺยานิ อลงฺกตปฏิยตฺตํ อตฺตโน สีสํ ฉินฺทิตฺวา อกฺขีนิ อุปฺปาเฏตฺวา หทยมํสํ อุปฺปาเฏตฺวา ปาณสมํ ปุตฺตทารํ ปริจฺจชิตฺวา ปารมิโย ปูเรนฺโต ปเรสํ ธมฺมเทสนตฺถเมว ปูเรสึเอส มํ อรกฺขิตพฺพฏฺฐาเน รกฺขตีติ เอกํ ธมฺมเทสนํ กเถติเยว.  

 ในท่านทั้งสองนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เคยทูลถามปัญหาต่อพระศาสดา จนวันเดียว. ได้ยินว่า ท่านคิดว่า พระตถาคตเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าผู้ละเอียดอ่อน เป็นกษัตริย์ผู้ละเอียดอ่อน เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ด้วยทรงพระดำริว่า คฤหบดีมีอุปการะแก่เรามาก ดังนี้ จะทรงลำบากแล้วไม่ทูลถามปัญหาด้วยความรักในพระศาสดาเป็นอย่างยิ่ง. ฝ่ายพระศาสดา พอท่านเศรษฐีนั่งแล้ว ทรงพระพุทธดำริว่า เศรษฐีนี้รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, เหตุว่าเราได้ตัดศีรษะของเราอันประดับประดาแล้ว ควักดวงตาของเราออกแล้ว ชำแหละเนื้อหัวใจของเราแล้ว สละลูกเมียผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของเราแล้ว บำเพ็ญบารมีอยู่ ๔ อสงไขยกับแสนกัลป์ ก็บำเพ็ญแล้วเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้อื่นเท่านั้น เศรษฐีนี่รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, (ครั้นทรงพุทธดำริ) ฉะนี้แล้ว ก็ตรัสพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งเสมอ

แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๔ (มหาปาละขอบวช)



[มหาปาละขอบวช]

ตํ สุตฺวา มหาปาโล กุฏุมฺพิโก จินฺเตสิ ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺตธีตโร วา ภาตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ สรีรมฺปิ อตฺตนา สทฺธึ น คจฺฉติ กึ เม ฆราวาเสน ปพฺพชิสฺสามีติโส เทสนาปริโยสาเน สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิอถ นํ สตฺถา อตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห. “กนิฏฺฐภาตา เม อตฺถิ ภนฺเตติ. “เตน หิ ตํ อาปุจฺฉาหีติ.
 กุฎุมพีมหาปาละได้สดับธรรมนั้นแล้ว คิดว่า บุตรและธิดาก็ดีโภคสมบัติก็ดี ย่อมไปตามผู้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่ แม้สรีระก็ไปกับตัวไม่ได้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวชพอเทศนาจบ เขาก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลของบวชขณะนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า ญาติไหน ๆ ของท่านที่ควรจะต้องอำลาไม่มีบ้างหรือ เขาทูลว่า พระเจ้าข้า น้องชายของข้าพเจ้ามีอยู่พระศาสดารับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงอำลาเขาเสีย ก่อน

[มหาปาละมอบสมบัติให้น้องชาย]

  โส สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา เคหํ คนฺตฺวา กนิฏฺฐํ ปกฺโกสาเปตฺวา ตาต ยํ มยฺหํ อิมสฺมึ เคเห สวิญฺญาณกมฺปิ อวิญฺญาณกมฺปิ ธนํ กิญฺจิ อตฺถิ สพฺพํ ตํ ตว ภาโร ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ. “ตุมฺเห ปน กึ กริสฺสถาติ อาห. “อหํ สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ
 เขาทูลรับว่า ดีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปถึงเรือนแล้ว ให้เรียกน้องชายมา มอบทรัพย์สมบัติให้ว่า แน่ะพ่อสวิญญาณกทรัพย์ก็ดี อวิญญาณกทรัพย์ก็ดี อันใดอันหนึ่ง บรรดามีในตระกูลนี้ ทรัพย์นั้นจงตกเป็นภาระของเจ้าทั้งหมด เจ้าดูและทรัพย์นั้นเถิด. น้องชายถามว่า นาย ก็ท่านเล่า ? พี่ชายตอบว่า ข้าจักบวชในสำนักของพระศาสดา. 

 กึ กเถสิ ภาติก ตฺวํ เม มาตริ มตาย มาตา วิย ปิตริ มเต ปิตา วิย ลทฺโธ เคเห เต มหาวิภโว สกฺกา เคหํ อชฺฌาวสนฺเตเหว ปุญฺญานิ กาตุํ มา เอวํ กริตฺถาติ. “ตาต อหํ สตฺถุ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา ฆราวาเส วสิตุํ น สกฺโกมิสตฺถารา หิ อติสณฺหสุขุมํ ติลกฺขณํ อาโรเปตฺวา อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาโณ ธมฺโม เทสิโต น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ วสนฺเตน ปูเรตุํ ปพฺพชิสฺสามิ ตาตาติ
 น. พี่พูดอะไร เมื่อมารดาของข้าพเจ้าตายแล้ว ข้าพเจ้าได้ท่านเป็นเหมือนมารดา เมื่อบิดาตายแล้ว ได้ท่านเป็นเหมือนบิดา. สมบัติเป็นอันมากมีอยู่ในเรือนของท่าน, ท่านอยู่ครองเรือนเท่านั้น อาจทำบุญได้, ขอท่านอย่าได้ทำอย่างนั้นเลย. 
พ. พ่อ ข้าได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา, เพราะ(เหตุที่)พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีคุณไพเราะ (ทั้ง) ในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ อันละเอียดสุขุม ธรรมนั้น อันใคร ๆไม่สามารถจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในท่ามกลางเรือนได้, ข้าจักบวชละ พ่อ. 

 ภาติก ตรุณาเยว ตาวตฺถ มหลฺลกกาเล ปพฺพชิสฺสถาติ. “ตาต มหลฺลกสฺส หิ อตฺตโน หตฺถปาทาปิ อนสฺสวา โหนฺติ น อตฺตโน วเส วตฺตนฺติ กิมงฺคํ ปน ญาตกา สฺวาหํ ตว กถํ น กโรมิ สมณปฏิปตฺตึเยว ปูเรสฺสามิ”.
ชราชชฺชริตา โหนฺติ หตฺถปาทา อนสฺสวา.
ยสฺส โส วิหตตฺถาโม กถํ ธมฺมํ จริสฺสติ”. 
น. พี่ เออก็ ท่านยังหนุ่มอยู่โดยแท้, เอาไว้บวชในเมื่อท่านแก่เถิด. 
น. พ่อ ก็เมื่อมือและเท้าของคนแก่ (แต่) ของตัว ก็ยังว่าไม่ฟังไม่เป็นไปในอำนาจ, ก็จักกล่าวไปทำอะไรถึงญาติทั้งหลาย, ข้านั้นจะไม่ทำ (ตาม) ถ้อยคำของเจ้า, ข้าจักบำเพ็ญสมณปฏิบัติให้บริบูรณ์. มือและเท้าของผู้ใดทรุดโทรมไปเพราะชราว่า ไม่ฟัง ผู้นั้น มีเรี่ยวแรงอันชรากำจัดเสียแล้ว จักประพฤติธรรมอย่างไรได้. ข้าจักบวชแน่ละ พ่อ

แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๕ (มหาปาละบรรพชาอุปสมบท)





[มหาปาละบรรพชาอุปสมบท]
  
ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ ตาตาติ ตสฺส วิรวนฺตสฺเสว สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิตฺวา ลทฺธปพฺพชฺชูปสมฺปโท อาจริยุปชฺฌายานํ สนฺติเก ปญฺจ วสฺสานิ วสิตฺวา วุฏฺฐวสฺโส ปวาเรตฺวา สตฺถารมุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา ปุจฺฉิ ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานีติ
 เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เทียว, เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้วทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ครบ ๕ พรรษาแล้ว ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้ มีธุระกี่อย่าง ? 


[ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา]

คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ ทฺเวเยว ธุรานิ ภิกฺขูติ. “กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ กตมํ วิปสฺสนาธุรนฺติ? “อตฺตโน ปญฺญานุรูเปน เอกํ วา ทฺเว วา นิกาเย สกลํ วา ปน เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ อุคฺคณฺหิตฺวา ตสฺส ธารณํ กถนํ วาจนนฺติ อิทํ คนฺถธุรํ นาม สลฺลหุกวุตฺติโน ปน ปนฺตเสนาสนาภิรตสฺส อตฺตภาเว ขยวยํ ปฏฺฐเปตฺวา สาตจฺจกิริยวเสน วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา อรหตฺตคฺคหณนฺติ อิทํ วิปสฺสนาธุรํ นามาติ. “ภนฺเต อหํ มหลฺลกกาเล ปพฺพชิโต คนฺถธุรํ ปูเรตุํ น สกฺขิสฺสามิ วิปสฺสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามิ กมฺมฏฺฐานํ เม กเถถาติ
  
 พระศาสนาตรัสตอบว่า ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ(กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น. พระมหาปาละทูลถามว่า พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร ?วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร ?
ศ. ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าว บอก พุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระ. ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการทำการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ. 
ม. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคัณถธุระให้บริบูรณ์ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์, ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด


[พระมหาปาละเดินทางไปบ้านปลายแดน]

 อถสฺส สตฺถา ยาว อรหตฺตํ กมฺมฏฺฐานํ กเถสิ.
โส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อตฺตนา สหคามิโน ภิกฺขู ปริเยสนฺโต สฏฺฐิ ภิกฺขู ลภิตฺวา เตหิ สทฺธึ นิกฺขมิตฺวา วีสโยชนสตมคฺคํ คนฺตฺวา เอกํ มหนฺตํ ปจฺจนฺตคามํ ปตฺวา ตตฺถ สปริวาโร ปิณฺฑาย ปาวิสิ
 ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสบอกพระกรรมฐานตลอดถึงพระอรหัตแก่พระมหาปาละ. ท่านถวายบังคมพระศาสดาแล้ว แสวงหาภิกษุผู้จะไปกับตน ได้ภิกษุ ๖๐ รูปแล้ว ออกพร้อมกับเธอทั้งหลายไปตลอดทาง ๑๒๐ โยชน์ ถึงบ้านปลายแดนหมู่ใหญ่ตำบลหนึ่ง จึงพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปบิณฑบาต ณ บ้านนั้น. 

[ชาวบ้านเสื่อมใสอาราธนาให้อยู่จำพรรษา]

มนุสฺสา วตฺตสมฺปนฺเน ภิกฺขู ทิสฺวาว ปสนฺนจิตฺตา อาสนานิ ปญฺญาเปตฺวา นิสีทาเปตฺวา ปณีเตนาหาเรน ปริวิสิตฺวา ภนฺเต กุหึ อยฺยา คจฺฉนฺตีติ ปุจฺฉิตฺวา ยถาผาสุกฏฺฐานํ อุปาสกาติ วุตฺเต ปณฺฑิตา มนุสฺสา วสฺสาวาสํ เสนาสนํ ปริเยสนฺติ ภทนฺตาติ ญตฺวา ภนฺเต สเจ อยฺยา อิมํ เตมาสํ อิธ วเสยฺยุํ มยํ สรเณสุ ปติฏฺฐาย สีลานิ คณฺเหยฺยามาติ อาหํสุเตปิ มยํ อิมานิ กุลานิ นิสฺสาย ภวนิสฺสรณํ กริสฺสามาติ อธิวาเสสุํ.

 หมู่มนุษย์ เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร มีจิตเสื่อมใส แต่งอาสนะแล้วนิมนต์ให้นั่ง อังคาสด้วยอาหารอันประณีตแล้ว ถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้เป็นเจ้าจะไปที่ไหน ? เมื่อเธอทั้งหลายกล่าวตอบว่า อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เราจะไปสู่ที่ตามผาสุก ดังนี้แล้ว, มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตรู้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายแสวงหาเสนาสนะที่จำพรรษา, จึงกล่าวอาราธนาว่า ท่านผู้เจริญถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พึงอยู่ ณ ที่นี่ตลอดไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะพึงตั้งอยู่ในสรณะแล้วถือศีล. แม้เธอทั้งหลายก็คิดเห็นว่า เราได้อาศัยตระกูลเหล่านี้ จักทำการออกไปจากภพได้ ดังนี้ จึงรับนิมนต์. 


มนุสฺสา เตสํ ปฏิญฺญํ คเหตฺวา วิหารํ ปฏิชคฺคิตฺวา รตฺติฏฺฐานทิวาฏฺฐานานิ สมฺปาเทตฺวา อทํสุเต นิพทฺธํ ตเมว คามํ ปิณฺฑาย ปวิสนฺติอถ เน เอโก เวชฺโช อุปสงฺกมิตฺวา ภนฺเต พหูนํ วสนฏฺฐาเน อผาสุกมฺปิ นาม โหติ ตสฺมึ อุปฺปนฺเน มยฺหํ กเถยฺยาถ เภสชฺชํ กริสฺสามีติ ปวาเรสิ.

หมู่มนุษย์รับปฏิญญาของเธอทั้งหลายแล้ว ได้ (ช่วยกัน) ปัดกวาดวิหาร จัดที่อยู่ในกลางคืน และที่อยู่ในกลางวันแล้วมอบถวาย. เธอทั้งหลาย เข้าไปบิณฑบาตบ้านนั้นตำบลเดียวเป็นประจำ. ครั้งนั้น  หมอผู้หนึ่งเข้าไปหาเธอทั้งหลาย ปวารณาว่า ท่านผู้เจริญธรรมดาในที่อยู่ของคนมาก ย่อมมีความไม่ผาสุกบ้าง. เมื่อความไม่ผาสุกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ท่านทั้งหลายพึงบอกแก่ข้าพเจ้าข้าพเจ้าจักทำเภสัชถวาย. 

[พระมหาปาละถือเนสัชชิกธุดงค์]

 เถโร วสฺสูปนายิกทิวเส เต ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา ปุจฺฉิ อาวุโส อิมํ เตมาสํ กติหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถาติ? “จตูหิ ภนฺเตติ. “กึ ปเนตํ อาวุโส ปติรูปํ นนุ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ”? “มยญฺหิ ธรมานกสฺส พุทฺธสฺส สนฺติกา กมฺมฏฺฐานํ คเหตฺวา อาคตา พุทฺธา จ นาม น สกฺกา ปมาเทน อาราเธตุํ กลฺยาณชฺฌาสเยน เต โว อาราเธตพฺพา
 ในวันจำพรรษา พระเถระเรียกภิกษุเหล่านั้นมา (พร้อมกัน)แล้ว ถามว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจักให้ไตรมาสนี้ น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถเท่าไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนตอบว่า จักให้น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถครบทั้ง ๔ ขอรับ. 
ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นสมควรละหรือ ? เราทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่ประมาทไม่ใช่หรือ ? เพราะเราทั้งหลายเรียนพระกรรมฐานมาจากสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่. แลธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันคนมักอวดไม่สามารถจะให้ทรงยินดีได้, ด้วยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น อันคนมีอัธยาศัยงาม(จำพวกเดียว) พึงให้ทรงยินดีได้, 

 ปมตฺตสฺส จ นาม จตฺตาโร อปายา สกเคหสทิสา อปฺปมตฺตา โหถาวุโสติ. “กึ ตุมฺเห ปน ภนฺเตติ? “อหํ ตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสามิ ปิฏฺฐึ น ปสาเรสฺสามิ อาวุโสติ. “สาธุ ภนฺเต อปฺปมตฺตา โหถาติ.

และขึ้นชื่อว่าอบายทั้ง ๔ เป็นเหมือนเรือนของตัวเอง แห่งคนผู้ประมาทแล้ว, ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. 
ภ. ก็ท่านเล่า ขอรับ. 
ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักให้ (ไตรมาสนี้) น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถ ๓, จักไม่เหยียดหลัง. 
ภ. สาธุ ขอจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ขอรับ



แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๖ (จักษุของพระมหาปาละพิการ)



[จักษุของพระมหาปาละพิการ]

อถ เถรสฺส นิทฺทํ อโนกฺกมนฺตสฺส ปฐมมาเส อติกฺกนฺเต มชฺฌิมมาเส สมฺปตฺเต อกฺขิโรโค อุปฺปชฺชิฉิทฺทฆฏโต อุทกธารา วิย อกฺขีหิ อสฺสุธารา ปคฺฆรนฺติโส สพฺพรตฺตึ สมณธมฺมํ กตฺวา อรุณุคฺคมเน คพฺภํ ปวิสิตฺวา นิสีทิภิกฺขู ภิกฺขาจารเวลาย เถรสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา ภิกฺขาจารเวลา ภนฺเตติ อาหํสุ. “เตน หิ อาวุโส คณฺหถ ปตฺตจีวรนฺติอตฺตโน ปตฺตจีวรํ คาหาเปตฺวา นิกฺขมิภิกฺขู ตสฺส อกฺขีหิ อสฺสูนิ ปคฺฆรนฺเต ทิสฺวา กิเมตํ ภนฺเตติ ปุจฺฉึสุ. “อกฺขีนิ เม อาวุโส วาตา วิชฺฌนฺตีติ. “นนุ ภนฺเต เวชฺเชน ปวาริตมฺหา ตสฺส กเถมาติ. “สาธาวุโสติ เต เวชฺชสฺส กถยึสุ

เมื่อพระเถระไม่หยั่งลงสู่นิทรา, เมื่อเดือนต้นผ่านไปแล้ว, โรคในจักษุก็เกิดขึ้น. สายน้ำไหลออกจากตาทั้ง ๒ ข้าง เหมือนสายน้ำอันไหลออกจากหม้ออันทะลุ. ท่านบำเพ็ญสมณธรรมตลอดราตรีทั้งสิ้นแล้ว ในเวลาอรุณขึ้น เข้าห้องนั่งแล้ว. ในเวลาภิกขาจาร ภิกษุทั้งหลาย ไปสู่สำนักของพระเถระเรียนว่า เวลานี้เป็นเวลาภิกขาจาร ขอรับ. พระเถระตอบว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายถือบาตรและจีวรเถิด ดังนี้แล้ว ให้เธอทั้งหลายถือบาตรและจีวรของตน ออกไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย เห็นตาทั้งสองของพระเถระนองอยู่ จึงเรียนถามว่า นั่นเป็นอะไร ขอรับ. 
ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ลมแทงตาของข้าพเจ้า. 
ภ. ท่านขอรับ หมอปวารณาเราไว้ไม่ใช่หรือ ? เราควรบอกแก่เขา. 
ถ. ดีละ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจึงได้บอกแก่หมอ.

[หมอปรุงยาให้หยอด]

 โส เตลํ ปจิตฺวา เปเสสิเถโร นาสาย เตลํ อาสิญฺจนฺโต นิสินฺนโกว อาสิญฺจิตฺวา อนฺโตคามํ ปาวิสิเวชฺโช ตํ ทิสฺวา อาห ภนฺเต อยฺยสฺส กิร อกฺขีนิ วาโต วิชฺฌตีติ? “อาม อุปาสกาติ. “ภนฺเต มยา เตลํ ปจิตฺวา เปสิตํ นาสาย โว เตลํ อาสิตฺตนฺติ? “อาม อุปาสกาติ. “อิทานิ กีทิสนฺติ? “รุชฺชเตว อุปาสกาติ

  เขาหุงน้ำมันส่งไปถวายแล้ว. พระเถระเมื่อหยอดน้ำมันในจมูก นั่งหยอดเทียวแล้วเข้าไปภายในบ้าน. หมอเห็นเรียนถามว่า ท่านขอรับ ได้ยินว่า ลมแทงตาของพระผู้เป็นเจ้าหรือ ?
ถ. เออ อุบาสก. 
ม. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าหุงน้ำมันแล้วส่งไป (ถวาย) ท่านหยอดทางจมูกแล้วหรือ ?
ถ. เออ อุบาสก. 
ม. เดี๋ยวนี้ เป็นอย่างไร ขอรับ. 
ถ. ยังแทงอยู่ทีเดียว อุบาสก. 


[พระมหาปาละนั่งหยอดยา]

 เวชฺโช มยา เอกวาเรเนว วูปสมนสมตฺถํ เตลํ ปหิตํ กึ นุ โข โรโค น วูปสนฺโตติ จินฺเตตฺวา ภนฺเต นิสีทิตฺวา โว เตลํ อาสิตฺตํ นิปชฺชิตฺวาติ ปุจฺฉิเถโร ตุณฺหี อโหสิ ปุนปฺปุนํ ปุจฺฉิยมาโนปิ น กเถสิโส วิหารํ คนฺตฺวา เถรสฺส วสนฏฺฐานํ โอโลเกสฺสามีติ จินฺเตตฺวา เตน หิ ภนฺเต คจฺฉถาติ เถรํ วิสฺสชฺเชตฺวา วิหารํ คนฺตฺวา เถรสฺส วสนฏฺฐานํ โอโลเกนฺโต จงฺกมนนิสีทนฏฺฐานเมว ทิสฺวา สยนฏฺฐานํ อทิสฺวา ภนฺเต นิสินฺเนหิ โว อาสิตฺตํ นิปนฺเนหีติ ปุจฺฉิเถโร ตุณฺหี อโหสิ. “มา ภนฺเต เอวํ กริตฺถ สมณธมฺโม นาม สรีรํ ยาเปนฺเตน สกฺกา กาตุํ นิปชฺชิตฺวา อาสิญฺจถาติ ปุนปฺปุนํ ยาจิ
 หมอคิดฉงนใจว่า เราส่งน้ำมันเพื่อจะยังโรคให้ระงับได้ด้วยการหยอดเพียงครั้งเดียวเท่านั้นไปถวายแล้ว, เหตุไฉนหนอแล โรคจึงยังไม่สงบ ? จึงเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า น้ำมันนั้น ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด. พระเถระได้นิ่งเสีย, ท่านแม้หมอซักถามอยู่ก็ไม่พูด. หมอนึกว่า เราจักไปวิหารดูที่อยู่เอง ดังนี้แล้วกล่าวว่าถ้าอย่างนั้น นิมนต์ไปเถิด ขอรับ ผละพระเถระแล้ว ไปสู่วิหารดูที่อยู่ของพระเถระ เห็นแต่ที่จงกรมและที่นั่ง ไม่เห็นที่นอนจึงเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า น้ำมันนั้น ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด พระเถระได้นิ่งเสีย. หมออ้อนวอนซ้ำว่า ท่านผู้เจริญขอท่านอย่าได้ทำอย่างนั้น, ธรรมดาสมณธรรม เมื่อร่างกายยังเป็นไปอยู่ ก็อาจทำได้, ขอท่านนอนหยอดเถิด. 



แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๗ (พระมหาปาละปรึกษากรัชกาย)



[พระมหาปาละปรึกษากรัชกาย]

คจฺฉ ตฺวํ ตาวาวุโส มนฺเตตฺวา ชานิสฺสามีติ เวชฺชํ อุยฺโยเชสิเถรสฺส จ ตตฺถ เนว ญาตี น สาโลหิตา อตฺถิ เตน สทฺธึ มนฺเตยฺยกรชกาเยน ปน สทฺธึ มนฺเตนฺโต วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต ตฺวํ กึ อกฺขีนิ โอโลเกสฺสสิ อุทาหุ พุทฺธสาสนํอนมตคฺคสฺมิญฺหิ สํสารวฏฺเฏ ตว อกฺขิกาณสฺส คณนา นาม นตฺถิ อเนกานิ ปน พุทฺธสตานิ พุทฺธสหสฺสานิ อตีตานิเตสุ เต เอกพุทฺโธปิ น ปริจิณฺโณ อิทานิ อิมํ อนฺโตวสฺสํ ตโย มาเส น นิปชฺชิสฺสามีติ เตมาสํ นิพทฺธวีริยํ กริสฺสามิ
 พระเถระตอบว่า ไปเถิด ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าจักปรึกษาดูก่อนแล้วจึงจักรู้. ก็ในที่นั้นไม่มีญาติสาโลหิตของพระเถระเลย ท่านจะพึงปรึกษากับใครเล่า ? ถึงอย่างนั้น ท่านปรึกษากับกรัชกาย อยู่ดำริว่า แน่ะปาลิตะผู้มีอายุ ท่านจงว่ามาก่อน, ท่านจักเห็นแก่จักษุหรือจักเห็นแก่พระพุทธศาสนา, ก็ในสังสารวัฏอันมีที่สุด อันใครตามค้นไปก็รู้ไม่ได้ การคณนานับตัวท่านผู้บอดด้วยจักษุหามีไม่, และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ล่วงไปหลายร้อยหลายพันพระองค์แล้ว ในพระพุทธเจ้าเหล่านั้น พระพุทธเจ้า แม้แต่พระองค์เดียวก็กำหนดไม่ได้. ท่านได้ผูกใจไว้เดี๋ยวนี้เองว่า จักไม่นอน จนตลอด ๓ เดือนภายในฤดูฝนนี้, 

 ตสฺมา เต จกฺขูนิ นสฺสนฺตุ วา ภิชฺชนฺตุ วา พุทฺธสาสนเมว ธาเรหิ มา จกฺขูนีติ ภูตกายํ โอวทนฺโต อิมา คาถาโย อภาสิ
จกฺขูนิ หายนฺตุ มมายิตานิ
โสตานิ หายนฺตุ ตเถว กาโย.
สพฺพมฺปิทํ หายตุ เทหนิสฺสิตํ
กึ การณา ปาลิต ตฺวํ ปมชฺชสิ
จกฺขูนิ ชีรนฺตุ มมายิตานิ
โสตานิ ชีรนฺตุ ตเถว กาโย.

เหตุฉะนั้น จักษุของท่านฉิบหายเสียหรือแตกเสียก็ตามเถิดท่านจงทรงแต่พระพุทธศาสนาไว้เถิด อย่าเห็นแก่จักษุเลย เมื่อกล่าวสอนภูตกาย ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า :-  
จักษุที่ท่านถือว่าของตัว เสื่อมไปเสียเถิด, 
หู ก็เสื่อมไปเสียเถิด, 
กายก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด, 
แม้สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้ ก็เสื่อม ไปเสียเถิด, 
ปาลิตะ เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่. 
จักษุที่ท่านถือว่าของตัว ทรุดโทรมไปเสียเถิด, 
หูก็ทรุดโทรมไปเสียเถิด, 
กายก็เป็นเหมือน กันอย่างนั้นเถิด, 

สพฺพมฺปิทํ ชีรตุ เทหนิสฺสิตํ
กึ การณา ปาลิต ตฺวํ ปมชฺชสิ
จกฺขูนิ ภิชฺชนฺตุ มมายิตานิ
โสตานิ ภิชฺชนฺตุ ตเถว กาโย.
สพฺพมฺปิทํ ภิชฺชตุ เทหนิสฺสิตํ
กึ การณา ปาลิต ตฺวํ ปมชฺชสีติ


แม้สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้ ก็ทรุดโทรมไปเสียเถิด, 
ปาลิตะ เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่. 
จักษุที่ท่านถือว่าของตัว แตก ไปเสียเถิด, 
หูก็แตกไปเสียเถิด, 
รูปก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด, 
แม้สรรพสิ่งอันอาศัย กายนี้ ก็แตกไปเสียเถิด, 
ปาลิตะ เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่. 
  
[หมอเลิกรักษาพระมหาปาละ]

เอวํ ตีหิ คาถาหิ อตฺตโน โอวาทํ ทตฺวา นิสินฺนโกว นตฺถุกมฺมํ กตฺวา คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิเวชฺโช ตํ ทิสฺวา กึ ภนฺเต นตฺถุกมฺมํ กตนฺติ ปุจฺฉิ. “อาม อุปาสกาติ. “กีทิสํ ภนฺเตติ? “รุชฺชเตว อุปาสกาติ. “นิสีทิตฺวา โว ภนฺเต นตฺถุกมฺมํ กตํ นิปชฺชิตฺวาติเถโร ตุณฺหี อโหสิ ปุนปฺปุนํ ปุจฺฉิยมาโนปิ น กิญฺจิ กเถสิอถ นํ เวชฺโช ภนฺเต ตุมฺเห สปฺปายํ น กโรถ อชฺชโต ปฏฺฐาย อสุเกน เม เตลํ ปกฺกนฺติ มา วทิตฺถ อหมฺปิ มยา โว เตลํ ปกฺกนฺติ น วกฺขามีติ อาห.  

 ครั้นพระเถระให้โอวาทแก่ตนเองด้วย ๓ คาถาอย่างแล้ว ได้นั่ง ทำนัตถุกรรมแล้วจึงเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต หมอเห็นแล้วเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทำนัตถุกรรมแล้วหรือ ?
ถ. เออ อุบาสก. 
ม. เป็นอย่างไรบ้าง ขอรับ. 
ถ. ยังแทงอยู่เทียว อุบาสก. 
ม. ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด ขอรับ. พระเถระได้นิ่งเสีย, ท่านแม้อันหมอถามซ้ำ ก็ไม่พูดอะไร. ขณะนั้น หมอกกล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ทำความสบาย, ตั้งแต่วันนี้ ขอท่านอย่าได้กล่าวว่า หมอผู้โน้นหุงน้ำมันให้เรา แม้ข้าพเจ้าก็จักไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหุงน้ำมันถวายท่าน. 



แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๘ (พระเถระเสียจักษุพร้อมด้วยบรรลุพระอรหัต)


[พระเถระเสียจักษุพร้อมด้วยบรรลุด้วยพระอรหัต]

โส เวชฺเชน ปจฺจกฺขาโต วิหารํ คนฺตฺวา ตฺวํ เวชฺเชนาปิ ปจฺจกฺขาโตสิ อิริยาปถํ มา วิสฺสชฺชิ สมณาติ.
ปฏิกฺขิตฺโต ติกิจฺฉาย เวชฺเชนาปิ วิวชฺชิโต.
นิยโต มจฺจุราชสฺส กึ ปาลิต ปมชฺชสีติ
อิมาย คาถาย อตฺตานํ โอวทิตฺวา สมณธมฺมํ อกาสิอถสฺส มชฺฌิมยาเม อติกฺกนฺเต อปุพฺพํ อจริมํ อกฺขีนิ เจว กิเลสา จ ภิชฺชึสุโส สุกฺขวิปสฺสโก อรหา หุตฺวา คพฺภํ ปวิสิตฺวา นิสีทิ.
 พระเถระถูกหมอบอกเลิกแล้ว กลับไปสู่วิหาร ดำริว่า ท่านแม้หมอเขาก็บอกเลิกแล้ว ท่านอย่าได้ละอิริยาบถเสียนะ สมณะแล้วกล่าวสอนตนด้วยคาถานี้ว่า  
ปาลิตะ ท่านถูกหมอเขาบอกเลิกจากการรักษา ทิ้งเสียแล้ว 
เที่ยงต่อมัจจุราช ไฉนจึงยังประมาท อยู่เล่า ?  
ดังนี้แล้ว บำเพ็ญสมณธรรม. ลำดับนั้น พอมัชฌิมยามล่วงแล้ว, ทั้งดวงตา ทั้งกิเลส ของท่านแตก (พร้อมกัน) ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน. ท่านเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสกเข้าไปสู่ห้องนั่งแล้ว. 

[พวกภิกษุและชาวบ้านรับบำรุงพระเถระ]

  ภิกฺขู ภิกฺขาจารเวลาย อาคนฺตฺวา ภิกฺขาจารกาโล ภนฺเตติ อาหํสุ. “กาโล อาวุโสติ? “อาม ภนฺเตติ. “เตน หิ คจฺฉถาติ. “กึ ตุมฺเห ปน ภนฺเตติ? “อกฺขีนิ เม อาวุโส ปริหีนานีติเต ตสฺส อกฺขีนิ โอโลเกตฺวา อสฺสุปุณฺณเนตฺตา หุตฺวา ภนฺเต มา จินฺตยิตฺถ มยํ โว ปฏิชคฺคิสฺสามาติ เถรํ สมสฺสาเสตฺวา กตฺตพฺพยุตฺตกํ วตฺตปฏิวตฺตํ กตฺวา คามํ ปิณฺฑาย ปวิสึสุมนุสฺสา เถรํ อทิสฺวา ภนฺเต อมฺหากํ อยฺโย กุหินฺติ ปุจฺฉิตฺวา ตํ ปวตฺตึ สุตฺวา ยาคุํ เปเสตฺวา สยํ ปิณฺฑปาตมาทาย คนฺตฺวา เถรํ วนฺทิตฺวา ปาทมูเล ปริวตฺตมานา โรทิตฺวา ภนฺเต มยํ โว ปฏิชคฺคิสฺสาม ตุมฺเห มา จินฺตยิตฺถาติ สมสฺสาเสตฺวา ปกฺกมึสุ.

 ในเวลาภิกขาจาร ภิกษุทั้งหลายไปเรียนว่า ท่านผู้เจริญเวลานี้ เป็นเวลาภิกขาจาร. 
ถ. กาลหรือ ? ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. 
ภ. ขอรับ. 
ถ. ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายไปเถิด. 
ภ. ก็ท่านเล่า ? ขอรับ. 
ถ. ตาของข้าพเจ้าเสื่อมเสียแล้ว ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. เธอทั้งหลายแลดูตาของท่านแล้ว มีตาเต็มด้วยน้ำตา ปลอบพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าคิดไปเลย, กระผมทั้งหลายจักปฏิบัติท่าน ดังนี้แล้ว ทำวัตรปฏิบัติที่ควรจะทำเสร็จแล้วเข้าไปสู่บ้าน. หมู่มนุษย์ไม่เห็นพระเถระ ถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย ไปข้างไหนเสีย ทราบข่าวนั้นแล้ว ส่งข้าวต้มไปถวายก่อนแล้ว ถือเอาบิณฑบาตไปเอง ไหว้พระเถระแล้ว ร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่แทบเท้า (ของท่าน) ปลอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลายจักรับปฏิบัติ ท่านอย่าได้คิดไปเลยแล้วลากลับ. 

 ตโต ปฏฺฐาย นิพทฺธํ ยาคุภตฺตํ วิหารเมว เปเสนฺติเถโรปิ อิตเร สฏฺฐิ ภิกฺขู นิรนฺตรํ โอวทติเต ตสฺโสวาเท ฐตฺวา อุปกฏฺฐาย ปวารณาย สพฺเพว สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณึสุ.  

ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ส่งข้างต้มและข้าวสวยไปถวายที่วิหารเป็นนิตย์. ฝ่ายพระเถระ ก็กล่าวสอนภิกษุ ๖๐ รูปนอกนี้เป็นนิรันดร์. เธอทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน, ครั้นจวนวันปวารณา ก็บรรลุ พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทุกรูป


แนะนำเวบไซด์ ตัวอย่างการแปลธรรมบทภาค ๑ เรื่องจักขุบาลภิกขุ