[มหาปาละบรรพชาอุปสมบท]
ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ ตาตาติ ตสฺส วิรวนฺตสฺเสว สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิตฺวา ลทฺธปพฺพชฺชูปสมฺปโท อาจริยุปชฺฌายานํ สนฺติเก ปญฺจ วสฺสานิ วสิตฺวา วุฏฺฐวสฺโส ปวาเรตฺวา สตฺถารมุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา ปุจฺฉิ “ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานี”ติ?
เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เทียว, เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้วทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ครบ ๕ พรรษาแล้ว ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้ มีธุระกี่อย่าง ?
[ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา]
“คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ ทฺเวเยว ธุรานิ ภิกฺขู”ติ. “กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ กตมํ วิปสฺสนาธุร”นฺติ? “อตฺตโน ปญฺญานุรูเปน เอกํ วา ทฺเว วา นิกาเย สกลํ วา ปน เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ อุคฺคณฺหิตฺวา ตสฺส ธารณํ กถนํ วาจนนฺติ อิทํ คนฺถธุรํ นาม สลฺลหุกวุตฺติโน ปน ปนฺตเสนาสนาภิรตสฺส อตฺตภาเว ขยวยํ ปฏฺฐเปตฺวา สาตจฺจกิริยวเสน วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา อรหตฺตคฺคหณนฺติ อิทํ วิปสฺสนาธุรํ นามา”ติ. “ภนฺเต อหํ มหลฺลกกาเล ปพฺพชิโต คนฺถธุรํ ปูเรตุํ น สกฺขิสฺสามิ วิปสฺสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามิ กมฺมฏฺฐานํ เม กเถถา”ติ.
พระศาสนาตรัสตอบว่า ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ(กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น. พระมหาปาละทูลถามว่า พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร ?วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร ?
ศ. ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าว บอก พุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระ. ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการทำการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ.
ม. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคัณถธุระให้บริบูรณ์ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์, ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด.
[พระมหาปาละเดินทางไปบ้านปลายแดน]
อถสฺส สตฺถา ยาว อรหตฺตํ กมฺมฏฺฐานํ กเถสิ.
โส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อตฺตนา สหคามิโน ภิกฺขู ปริเยสนฺโต สฏฺฐิ ภิกฺขู ลภิตฺวา เตหิ สทฺธึ นิกฺขมิตฺวา วีสโยชนสตมคฺคํ คนฺตฺวา เอกํ มหนฺตํ ปจฺจนฺตคามํ ปตฺวา ตตฺถ สปริวาโร ปิณฺฑาย ปาวิสิ.
ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสบอกพระกรรมฐานตลอดถึงพระอรหัตแก่พระมหาปาละ. ท่านถวายบังคมพระศาสดาแล้ว แสวงหาภิกษุผู้จะไปกับตน ได้ภิกษุ ๖๐ รูปแล้ว ออกพร้อมกับเธอทั้งหลายไปตลอดทาง ๑๒๐ โยชน์ ถึงบ้านปลายแดนหมู่ใหญ่ตำบลหนึ่ง จึงพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปบิณฑบาต ณ บ้านนั้น.
[ชาวบ้านเสื่อมใสอาราธนาให้อยู่จำพรรษา]
มนุสฺสา วตฺตสมฺปนฺเน ภิกฺขู ทิสฺวาว ปสนฺนจิตฺตา อาสนานิ ปญฺญาเปตฺวา นิสีทาเปตฺวา ปณีเตนาหาเรน ปริวิสิตฺวา “ภนฺเต กุหึ อยฺยา คจฺฉนฺตี”ติ ปุจฺฉิตฺวา “ยถาผาสุกฏฺฐานํ อุปาสกา”ติ วุตฺเต ปณฺฑิตา มนุสฺสา “วสฺสาวาสํ เสนาสนํ ปริเยสนฺติ ภทนฺตา”ติ ญตฺวา “ภนฺเต สเจ อยฺยา อิมํ เตมาสํ อิธ วเสยฺยุํ มยํ สรเณสุ ปติฏฺฐาย สีลานิ คณฺเหยฺยามา”ติ อาหํสุ. เตปิ “มยํ อิมานิ กุลานิ นิสฺสาย ภวนิสฺสรณํ กริสฺสามา”ติ อธิวาเสสุํ.
หมู่มนุษย์ เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร มีจิตเสื่อมใส แต่งอาสนะแล้วนิมนต์ให้นั่ง อังคาสด้วยอาหารอันประณีตแล้ว ถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้เป็นเจ้าจะไปที่ไหน ? เมื่อเธอทั้งหลายกล่าวตอบว่า อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เราจะไปสู่ที่ตามผาสุก ดังนี้แล้ว, มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตรู้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายแสวงหาเสนาสนะที่จำพรรษา, จึงกล่าวอาราธนาว่า ท่านผู้เจริญถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พึงอยู่ ณ ที่นี่ตลอดไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะพึงตั้งอยู่ในสรณะแล้วถือศีล. แม้เธอทั้งหลายก็คิดเห็นว่า เราได้อาศัยตระกูลเหล่านี้ จักทำการออกไปจากภพได้ ดังนี้ จึงรับนิมนต์.
หมู่มนุษย์รับปฏิญญาของเธอทั้งหลายแล้ว ได้ (ช่วยกัน) ปัดกวาดวิหาร จัดที่อยู่ในกลางคืน และที่อยู่ในกลางวันแล้วมอบถวาย. เธอทั้งหลาย เข้าไปบิณฑบาตบ้านนั้นตำบลเดียวเป็นประจำ. ครั้งนั้น หมอผู้หนึ่งเข้าไปหาเธอทั้งหลาย ปวารณาว่า ท่านผู้เจริญธรรมดาในที่อยู่ของคนมาก ย่อมมีความไม่ผาสุกบ้าง. เมื่อความไม่ผาสุกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ท่านทั้งหลายพึงบอกแก่ข้าพเจ้าข้าพเจ้าจักทำเภสัชถวาย.
มนุสฺสา เตสํ ปฏิญฺญํ คเหตฺวา วิหารํ ปฏิชคฺคิตฺวา รตฺติฏฺฐานทิวาฏฺฐานานิ สมฺปาเทตฺวา อทํสุ. เต นิพทฺธํ ตเมว คามํ ปิณฺฑาย ปวิสนฺติ. อถ เน เอโก เวชฺโช อุปสงฺกมิตฺวา “ภนฺเต พหูนํ วสนฏฺฐาเน อผาสุกมฺปิ นาม โหติ ตสฺมึ อุปฺปนฺเน มยฺหํ กเถยฺยาถ เภสชฺชํ กริสฺสามี”ติ ปวาเรสิ.
[พระมหาปาละถือเนสัชชิกธุดงค์]
เถโร วสฺสูปนายิกทิวเส เต ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา ปุจฺฉิ “อาวุโส อิมํ เตมาสํ กติหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถา”ติ? “จตูหิ ภนฺเต”ติ. “กึ ปเนตํ อาวุโส ปติรูปํ นนุ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ”? “มยญฺหิ ธรมานกสฺส พุทฺธสฺส สนฺติกา กมฺมฏฺฐานํ คเหตฺวา อาคตา พุทฺธา จ นาม น สกฺกา ปมาเทน อาราเธตุํ กลฺยาณชฺฌาสเยน เต โว อาราเธตพฺพา.
ในวันจำพรรษา พระเถระเรียกภิกษุเหล่านั้นมา (พร้อมกัน)แล้ว ถามว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจักให้ไตรมาสนี้ น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถเท่าไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนตอบว่า จักให้น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถครบทั้ง ๔ ขอรับ.
ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นสมควรละหรือ ? เราทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่ประมาทไม่ใช่หรือ ? เพราะเราทั้งหลายเรียนพระกรรมฐานมาจากสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่. แลธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันคนมักอวดไม่สามารถจะให้ทรงยินดีได้, ด้วยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น อันคนมีอัธยาศัยงาม(จำพวกเดียว) พึงให้ทรงยินดีได้,
ปมตฺตสฺส จ นาม จตฺตาโร อปายา สกเคหสทิสา อปฺปมตฺตา โหถาวุโส”ติ. “กึ ตุมฺเห ปน ภนฺเต”ติ? “อหํ ตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสามิ ปิฏฺฐึ น ปสาเรสฺสามิ อาวุโส”ติ. “สาธุ ภนฺเต อปฺปมตฺตา โหถา”ติ.
และขึ้นชื่อว่าอบายทั้ง ๔ เป็นเหมือนเรือนของตัวเอง แห่งคนผู้ประมาทแล้ว, ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
ปมตฺตสฺส จ นาม จตฺตาโร อปายา สกเคหสทิสา อปฺปมตฺตา โหถาวุโส”ติ. “กึ ตุมฺเห ปน ภนฺเต”ติ? “อหํ ตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสามิ ปิฏฺฐึ น ปสาเรสฺสามิ อาวุโส”ติ. “สาธุ ภนฺเต อปฺปมตฺตา โหถา”ติ.
และขึ้นชื่อว่าอบายทั้ง ๔ เป็นเหมือนเรือนของตัวเอง แห่งคนผู้ประมาทแล้ว, ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
ภ. ก็ท่านเล่า ขอรับ.
ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักให้ (ไตรมาสนี้) น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถ ๓, จักไม่เหยียดหลัง.
ภ. สาธุ ขอจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ขอรับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น