[จักษุของพระมหาปาละพิการ]
อถ เถรสฺส นิทฺทํ อโนกฺกมนฺตสฺส ปฐมมาเส อติกฺกนฺเต มชฺฌิมมาเส สมฺปตฺเต อกฺขิโรโค อุปฺปชฺชิ. ฉิทฺทฆฏโต อุทกธารา วิย อกฺขีหิ อสฺสุธารา ปคฺฆรนฺติ. โส สพฺพรตฺตึ สมณธมฺมํ กตฺวา อรุณุคฺคมเน คพฺภํ ปวิสิตฺวา นิสีทิ. ภิกฺขู ภิกฺขาจารเวลาย เถรสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา “ภิกฺขาจารเวลา ภนฺเต”ติ อาหํสุ. “เตน หิ อาวุโส คณฺหถ ปตฺตจีวร”นฺติ. อตฺตโน ปตฺตจีวรํ คาหาเปตฺวา นิกฺขมิ. ภิกฺขู ตสฺส อกฺขีหิ อสฺสูนิ ปคฺฆรนฺเต ทิสฺวา “กิเมตํ ภนฺเต”ติ ปุจฺฉึสุ. “อกฺขีนิ เม อาวุโส วาตา วิชฺฌนฺตี”ติ. “นนุ ภนฺเต เวชฺเชน ปวาริตมฺหา ตสฺส กเถมา”ติ. “สาธาวุโส”ติ เต เวชฺชสฺส กถยึสุ.
เมื่อพระเถระไม่หยั่งลงสู่นิทรา, เมื่อเดือนต้นผ่านไปแล้ว, โรคในจักษุก็เกิดขึ้น. สายน้ำไหลออกจากตาทั้ง ๒ ข้าง เหมือนสายน้ำอันไหลออกจากหม้ออันทะลุ. ท่านบำเพ็ญสมณธรรมตลอดราตรีทั้งสิ้นแล้ว ในเวลาอรุณขึ้น เข้าห้องนั่งแล้ว. ในเวลาภิกขาจาร ภิกษุทั้งหลาย ไปสู่สำนักของพระเถระเรียนว่า เวลานี้เป็นเวลาภิกขาจาร ขอรับ. พระเถระตอบว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายถือบาตรและจีวรเถิด ดังนี้แล้ว ให้เธอทั้งหลายถือบาตรและจีวรของตน ออกไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย เห็นตาทั้งสองของพระเถระนองอยู่ จึงเรียนถามว่า นั่นเป็นอะไร ขอรับ.
ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ลมแทงตาของข้าพเจ้า.
ภ. ท่านขอรับ หมอปวารณาเราไว้ไม่ใช่หรือ ? เราควรบอกแก่เขา.
ถ. ดีละ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
เธอทั้งหลายจึงได้บอกแก่หมอ.
โส เตลํ ปจิตฺวา เปเสสิ. เถโร นาสาย เตลํ อาสิญฺจนฺโต นิสินฺนโกว อาสิญฺจิตฺวา อนฺโตคามํ ปาวิสิ. เวชฺโช ตํ ทิสฺวา อาห “ภนฺเต อยฺยสฺส กิร อกฺขีนิ วาโต วิชฺฌตี”ติ? “อาม อุปาสกา”ติ. “ภนฺเต มยา เตลํ ปจิตฺวา เปสิตํ นาสาย โว เตลํ อาสิตฺต”นฺติ? “อาม อุปาสกา”ติ. “อิทานิ กีทิส”นฺติ? “รุชฺชเตว อุปาสกา”ติ.
เขาหุงน้ำมันส่งไปถวายแล้ว. พระเถระเมื่อหยอดน้ำมันในจมูก นั่งหยอดเทียวแล้วเข้าไปภายในบ้าน. หมอเห็นเรียนถามว่า ท่านขอรับ ได้ยินว่า ลมแทงตาของพระผู้เป็นเจ้าหรือ ?
ถ. เออ อุบาสก.
ม. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าหุงน้ำมันแล้วส่งไป (ถวาย) ท่านหยอดทางจมูกแล้วหรือ ?
ถ. เออ อุบาสก.
ม. เดี๋ยวนี้ เป็นอย่างไร ขอรับ.
ถ. ยังแทงอยู่ทีเดียว อุบาสก.
[พระมหาปาละนั่งหยอดยา]
เวชฺโช “มยา เอกวาเรเนว วูปสมนสมตฺถํ เตลํ ปหิตํ กึ นุ โข โรโค น วูปสนฺโต”ติ จินฺเตตฺวา “ภนฺเต นิสีทิตฺวา โว เตลํ อาสิตฺตํ นิปชฺชิตฺวา”ติ ปุจฺฉิ. เถโร ตุณฺหี อโหสิ ปุนปฺปุนํ ปุจฺฉิยมาโนปิ น กเถสิ. โส “วิหารํ คนฺตฺวา เถรสฺส วสนฏฺฐานํ โอโลเกสฺสามี”ติ จินฺเตตฺวา “เตน หิ ภนฺเต คจฺฉถา”ติ เถรํ วิสฺสชฺเชตฺวา วิหารํ คนฺตฺวา เถรสฺส วสนฏฺฐานํ โอโลเกนฺโต จงฺกมนนิสีทนฏฺฐานเมว ทิสฺวา สยนฏฺฐานํ อทิสฺวา “ภนฺเต นิสินฺเนหิ โว อาสิตฺตํ นิปนฺเนหี”ติ ปุจฺฉิ. เถโร ตุณฺหี อโหสิ. “มา ภนฺเต เอวํ กริตฺถ สมณธมฺโม นาม สรีรํ ยาเปนฺเตน สกฺกา กาตุํ นิปชฺชิตฺวา อาสิญฺจถา”ติ ปุนปฺปุนํ ยาจิ.
หมอคิดฉงนใจว่า เราส่งน้ำมันเพื่อจะยังโรคให้ระงับได้ด้วยการหยอดเพียงครั้งเดียวเท่านั้นไปถวายแล้ว, เหตุไฉนหนอแล โรคจึงยังไม่สงบ ? จึงเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า น้ำมันนั้น ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด. พระเถระได้นิ่งเสีย, ท่านแม้หมอซักถามอยู่ก็ไม่พูด. หมอนึกว่า เราจักไปวิหารดูที่อยู่เอง ดังนี้แล้วกล่าวว่าถ้าอย่างนั้น นิมนต์ไปเถิด ขอรับ ผละพระเถระแล้ว ไปสู่วิหารดูที่อยู่ของพระเถระ เห็นแต่ที่จงกรมและที่นั่ง ไม่เห็นที่นอนจึงเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า น้ำมันนั้น ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด พระเถระได้นิ่งเสีย. หมออ้อนวอนซ้ำว่า ท่านผู้เจริญขอท่านอย่าได้ทำอย่างนั้น, ธรรมดาสมณธรรม เมื่อร่างกายยังเป็นไปอยู่ ก็อาจทำได้, ขอท่านนอนหยอดเถิด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น