วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แปลธรรมบทเรื่องพระจักขุบาล ตอน ๔ (มหาปาละขอบวช)



[มหาปาละขอบวช]

ตํ สุตฺวา มหาปาโล กุฏุมฺพิโก จินฺเตสิ ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺตธีตโร วา ภาตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ สรีรมฺปิ อตฺตนา สทฺธึ น คจฺฉติ กึ เม ฆราวาเสน ปพฺพชิสฺสามีติโส เทสนาปริโยสาเน สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิอถ นํ สตฺถา อตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห. “กนิฏฺฐภาตา เม อตฺถิ ภนฺเตติ. “เตน หิ ตํ อาปุจฺฉาหีติ.
 กุฎุมพีมหาปาละได้สดับธรรมนั้นแล้ว คิดว่า บุตรและธิดาก็ดีโภคสมบัติก็ดี ย่อมไปตามผู้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่ แม้สรีระก็ไปกับตัวไม่ได้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวชพอเทศนาจบ เขาก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลของบวชขณะนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า ญาติไหน ๆ ของท่านที่ควรจะต้องอำลาไม่มีบ้างหรือ เขาทูลว่า พระเจ้าข้า น้องชายของข้าพเจ้ามีอยู่พระศาสดารับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงอำลาเขาเสีย ก่อน

[มหาปาละมอบสมบัติให้น้องชาย]

  โส สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา เคหํ คนฺตฺวา กนิฏฺฐํ ปกฺโกสาเปตฺวา ตาต ยํ มยฺหํ อิมสฺมึ เคเห สวิญฺญาณกมฺปิ อวิญฺญาณกมฺปิ ธนํ กิญฺจิ อตฺถิ สพฺพํ ตํ ตว ภาโร ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ. “ตุมฺเห ปน กึ กริสฺสถาติ อาห. “อหํ สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ
 เขาทูลรับว่า ดีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปถึงเรือนแล้ว ให้เรียกน้องชายมา มอบทรัพย์สมบัติให้ว่า แน่ะพ่อสวิญญาณกทรัพย์ก็ดี อวิญญาณกทรัพย์ก็ดี อันใดอันหนึ่ง บรรดามีในตระกูลนี้ ทรัพย์นั้นจงตกเป็นภาระของเจ้าทั้งหมด เจ้าดูและทรัพย์นั้นเถิด. น้องชายถามว่า นาย ก็ท่านเล่า ? พี่ชายตอบว่า ข้าจักบวชในสำนักของพระศาสดา. 

 กึ กเถสิ ภาติก ตฺวํ เม มาตริ มตาย มาตา วิย ปิตริ มเต ปิตา วิย ลทฺโธ เคเห เต มหาวิภโว สกฺกา เคหํ อชฺฌาวสนฺเตเหว ปุญฺญานิ กาตุํ มา เอวํ กริตฺถาติ. “ตาต อหํ สตฺถุ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา ฆราวาเส วสิตุํ น สกฺโกมิสตฺถารา หิ อติสณฺหสุขุมํ ติลกฺขณํ อาโรเปตฺวา อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาโณ ธมฺโม เทสิโต น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ วสนฺเตน ปูเรตุํ ปพฺพชิสฺสามิ ตาตาติ
 น. พี่พูดอะไร เมื่อมารดาของข้าพเจ้าตายแล้ว ข้าพเจ้าได้ท่านเป็นเหมือนมารดา เมื่อบิดาตายแล้ว ได้ท่านเป็นเหมือนบิดา. สมบัติเป็นอันมากมีอยู่ในเรือนของท่าน, ท่านอยู่ครองเรือนเท่านั้น อาจทำบุญได้, ขอท่านอย่าได้ทำอย่างนั้นเลย. 
พ. พ่อ ข้าได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา, เพราะ(เหตุที่)พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีคุณไพเราะ (ทั้ง) ในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ อันละเอียดสุขุม ธรรมนั้น อันใคร ๆไม่สามารถจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในท่ามกลางเรือนได้, ข้าจักบวชละ พ่อ. 

 ภาติก ตรุณาเยว ตาวตฺถ มหลฺลกกาเล ปพฺพชิสฺสถาติ. “ตาต มหลฺลกสฺส หิ อตฺตโน หตฺถปาทาปิ อนสฺสวา โหนฺติ น อตฺตโน วเส วตฺตนฺติ กิมงฺคํ ปน ญาตกา สฺวาหํ ตว กถํ น กโรมิ สมณปฏิปตฺตึเยว ปูเรสฺสามิ”.
ชราชชฺชริตา โหนฺติ หตฺถปาทา อนสฺสวา.
ยสฺส โส วิหตตฺถาโม กถํ ธมฺมํ จริสฺสติ”. 
น. พี่ เออก็ ท่านยังหนุ่มอยู่โดยแท้, เอาไว้บวชในเมื่อท่านแก่เถิด. 
น. พ่อ ก็เมื่อมือและเท้าของคนแก่ (แต่) ของตัว ก็ยังว่าไม่ฟังไม่เป็นไปในอำนาจ, ก็จักกล่าวไปทำอะไรถึงญาติทั้งหลาย, ข้านั้นจะไม่ทำ (ตาม) ถ้อยคำของเจ้า, ข้าจักบำเพ็ญสมณปฏิบัติให้บริบูรณ์. มือและเท้าของผู้ใดทรุดโทรมไปเพราะชราว่า ไม่ฟัง ผู้นั้น มีเรี่ยวแรงอันชรากำจัดเสียแล้ว จักประพฤติธรรมอย่างไรได้. ข้าจักบวชแน่ละ พ่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น